การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ๒) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ทำการวิจัยผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ที่มีบริบทเดียวกัน ๑๑ โรงเรียน โดยการวิจัยแบ่งเป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จำนวน ๘๘ รูป/คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน ๑๐ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักอริยสัจ ๔ สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านการบริหารงานทั่วไป งานด้านธุรการยังไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเท่าที่ควร การสนับสนุนส่งเสริมนักเรียนยังมีการเลือกปฏิบัติ ควรส่งเสริมพัฒนาคุณสภาพสิ่งแวดล้อมให้สะอาด มีความสะดวกสบายเป็นระเบียบ ด้านการบริหารวิชาการ บุคลากรทางการศึกษาขาดความรู้ ไม่มีความชัดเจนด้านหลักสูตร ครูผู้สอนยังขาดทักษะและประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูไม่เพียงพอมีภาระในการสอนมาก ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาตามความเหมาะสมในแต่ละวิชา ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการบริหารงบประมาณ การทำบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า ไม่เกิดประโยชน์มาก มีประสิทธิภาพน้อย บุคลากรส่วนมากมีความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามหลักธรรมทางศาสนาและกฎหมาย มีระบบการตรวจสอบภายใน โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบภายใน และด้านการบริหารงานบุคคล บุคลากรมีภาระหน้าที่การทำงานหลายอย่าง ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและเอาใจใส่ ขาดการพัฒนาบุคลากร การคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาเน้นพรรคพวกมากว่าเน้นผู้มีความรู้ความสามารถ มีการเอื้อพวกพ้องกันเอง ไม่เน้นผลงาน ๒. การศึกษาวิธีการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักอริยสัจ ๔ สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น ทราบว่า การบริหารงานทั่วไป สภาพแวดล้อมไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการสนับสนุนนักเรียนยังมีการเลือกปฏิบัติ ด้านการบริหารวิชาการ บุคลากรทางการศึกษาขาดความรู้เรื่องหลักสูตร ไม่มีความชัดเจนด้านหลักสูตร ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนยังขาดทักษะและประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และรูปแบบการเรียนการสอนยังเป็นรูปแบบเดิม ด้านการบริหารงบประมาณ การใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษากำหนด และด้านการบริหารงานบุคคล ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและเอาใจใส่ ขาดการพัฒนาบุคลากร การคัดเลือกบุคลากรมีการเอื้อพวกพ้อง ไม่เน้นความรู้ความสามารถ
Download