หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุหัชชา พิมพ์เนาว์
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๕ ครั้ง
การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สุหัชชา พิมพ์เนาว์ ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รัชนี จรุงศิรวัฒน์
  สมควร นามสีฐาน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ในการวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม  จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม  จังหวัดขอนแก่น  ๒) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research) กลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๓๐ คน  โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 

 

สภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม มีหลักสูตรที่กำหนดแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา และสอดคล้องกับหลักไตรสิกขา ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักไตรสิกขา มีวิธีการสอนที่หลากหลาย  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ด้านสื่อและเทคโนโลยี มีการใช้สื่อที่สอดคล้องและเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา นักเรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อการสอน  ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  มีกิจกรรมรึโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  ด้านการวัดและประเมินผล มีการวัดประเมินผลครอบคลุมสภาพจริงตามหลักไตรสิกขา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  

 

ด้านแนวทางและข้อเสนอแนะ พบว่า  ๑) ควรจัดให้การฝึกอบรมไตรสิกขาแก่บุคลากรโดยเน้นที่การปฏิบัติจริงและจัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขา ๒) ควรนำนักเรียนร่วมทำกิจกรรมของวัดและชุมชนเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และมีเจตคติที่ดีต่อกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน  ๓) ควรส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและผู้ปกครอง  ๔) ควรมีการอบรมบุคลากรในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวพุทธธรรมเพื่อให้ครูมีทัศนคิติที่ตรงกัน  ๕)  ควรจัดให้มีกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์อย่างเป็นกัลยาณมิตรระหว่างครู ผู้บริหาร  นักเรีนและชุมชน  ๖) ควรส่งเสริมการฝึกสมาธิ เจริญปัญญาในชุมชนด้วย  ๗) ควรประสานความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาอย่างจริงจังจากชุมชน และทำความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในด้านการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕