การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิบาท ๔ กับประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์บริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม๔. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่าที่ ๐.๙๗๗กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกพระเจดีย์ จำนวน ๓๖๐คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๔, S.D. =๐.๓๖๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพ ( =๓.๘๕, S.D. =๐.๓๓๙) ด้านป้องกันโรค ( =๓.๗๘, S.D. =๐.๔๑๔)
ด้านฟื้นฟูสมรรถภาพ ( =,๓.๗๑ S.D. =๐.๔๕๗) และ ด้านปฐมภูมิเชิงรุก( =๓.๖๐, S.D. =๐.๔๑๑) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียบการความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพและรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีวุฒิการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับอิทธิบาท ๔ ในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพกับประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์บริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับอิทธิบาท ๔ ในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์บริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวม อยู่ในระดับต่ำ (r = .๑๒๖*) เมื่อพิจารณาเป็นตามรายด้าน พบว่า ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ (r = .๒๒๓**) ด้านป้องกันโรคอยู่ในระดับต่ำ (r=.๑๐๑) ด้านฟื้นฟูสมรรถภาพอยู่ในระดับต่ำ (r.=๐๑๙) และด้านปฐมภูมิเชิงรุกอยู่ในระดับต่ำ (r=.๑๓๘*)
๔. แนวทางการปรับปรุงประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม คือ สมาชิก ฝ่ายบริหารทุกคนทั้งที่เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และที่เป็นสมาชิกกองทุนหลักประกันสุขภาพตลอดจนผู้ใหญ่บ้าน กำนันและประชาชนในตำบลทั้งหมด ควรปฏิบัติงานตามหน้าที่รับความผิดชอบให้เต็มกำลังความสามารถด้วยซื่อสัตย์สุจริต มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมาย อันจะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญให้กับชุมชน
Download |