หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ปัญญา ศาสตรา
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๗ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาชีวิตนายแสวง มะโนลัย ปราชญ์ชาวบ้าน แห่งทุ่งกุลาร้องไห้
ชื่อผู้วิจัย : ปัญญา ศาสตรา ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  จรัส ลีกา
  สุวิน ทองปั้น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและปรัชญาการดำเนินชีวิตในทัศนะพุทธปรัชญา ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาชีวิตนายแสวง มะโนลัย ปราชญ์ชาวบ้านแห่งทุ่งกุลาร้องให้ ๓) เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาชีวิตนายแสวง มะโนลัย ปราชญ์ชาวบ้านแห่งทุ่งกุลาร้องไห้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

๑. แนวคิด ทฤษฎีและปรัชญาการดำเนินชีวิต บางทีเรียกว่าปรัชญาชีวิตซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ท่าทีต่อชีวิตและคำว่าการมองโลก เพราะคนมีท่าทีต่อชีวิตหรือมองโลกย่างไรก็มักดำเนินชีวิตไปตามท่าทีหรือการมองนั้นๆ การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธปรัชญาแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับโลกียะ คือ หลักธรรมที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ครองเรือนมี ศีล ๕ ฆราวาสธรรม หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ หลักมัตตัญญุตา เป็นต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อความเจริญงอกงามในการดำเนินชีวิตตามแบบของฆาราวาส ส่วนระดับโลกุตตระ คือ อริยสัจ ๔ และอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินชีวิต

๒. วิถีชีวิต นายแสวง มะโนลัย ปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความมุ่งมั่นเพียรพยายามเพื่อการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ด้วยการมองเห็นวิกฤตต่างๆ เป็นโอกาส และยึดมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภาคปฏิบัติจนประสบความสำเร็จได้เป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตของคนในสังคม และเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตตามปณิธานที่ว่า “แล้งกะบ่งึด”

      ๓. นายแสวง มะโนลัย ได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในฐานะปราชญ์ชาวบ้านผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการนำหลักคำสอนทางพุทธศาสนาที่ประกอบด้วย หลักสัมมาอาชีวะ หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ และหลักมัตตัญญุตา มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตจนทำให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน และเป็นที่เคารพนับถือของคนในสังคมทั่วไป

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕