การวิจัยมีคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดภพภูมิในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดภพภูมิในไตรภูมิพระร่วง และ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดภพภูมิในพระไตรปิฎกที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
๑. แนวคิดภพภูมิในพระไตรปิฎก พบว่า ภพภูมิในพระไตรปิฎกเป็นดินแดนอันเป็นที่เกิดของสัตว์มีอยู่ ๓ ดินแดน เรียกว่า ไตรภูมิ ได้แก่ ๑) กามภูมิ คือ ดินแดนอันเป็นที่เกิดของสัตว์ที่ยังวนเวียนอยู่ในกามประกอบด้วย อบายภูมิ มนุษย์ภูมิ และสวรรค์ภูมิ ๒) รูปภูมิ คือ ดินแดนที่เป็นดินแดนที่อยู่เหนือสวรรค์ชั้นปรมินมิตวสวัตดีขึ้นไปเรียกว่า พรหมโลก ได้แก่ รูปพรหม และ
๓) อรูปภูมิ คือ ดินแดนอันเป็นที่เกิดของสัตว์ที่ไม่มีรูป ไม่มีตัวตน มีแต่เพียงจิต ได้แก่ อรูปพรหม
๒. แนวคิดภพภูมิในไตรภูมิพระร่วง พบว่า ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีที่สำคัญเล่มหนึ่งของพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทย พระราชนิพนธ์ขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) มีสารัตถะที่พรรณนาถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับ นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด และสัณฐานของโลก ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
๓. แนวคิดภพภูมิในพระไตรปิฎกที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง พบว่า มีการกล่าวถึงภพภูมิเหมือนกัน แต่มีการพรรณนาเกี่ยวภพภูมิที่แตกต่างกันดังนี้ พระไตรปิฎก มีจุดมุ่งหมายในการแสดงภพภูมิในลักษณะของการเวียนว่ายตายเกิดที่ทำให้เกิดทุกข์ และแสดงวิธีพ้นทุกข์ด้วยการบรรลุนิพพาน ส่วนไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายในการแสดงภพภูมิเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองบ้านเมือง และการควบคุมคนในสังคม โดยสอนให้คนทำความดี และเว้นการทำความชั่ว
Download
|