การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ๒. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) การวิจัยเชิงปริมาณดําเนินการวิจัยเชิงสํารวจ โดยการแจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๘๔ คน วิเคราะหขอมูลโดยการหา คาความถี่ รอยละ คาเฉลี่ย () สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) การวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกตางเปนรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD. และดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๘ รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ซึ่งผลการวิจัยสรุปไดดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ๑. ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๔.๑5) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านการอำนวยการ (=๔.32) ด้านการวางแผน (=๔.25) ด้านบุคลากร (=4.03) ด้านการจัดองค์กร (=4.03) และด้านการกำกับดูแล (=4.03) ตามลำดับ ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ด้านการวางแผน พบปัญหาและอุปสรรค คือ การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีข้อเสนอแนะให้ มีการวางแผนการทำงานอย่างต่อเนื่องทุกปี ด้านการจัดองค์กร พบปัญหาและอุปสรรค คือ มีแผนผังแสดงเส้นทางบางจุด โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการบริหารจัดการองค์กรการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในแต่ละฤดูกาล ด้านบุคลากร พบปัญหาและอุปสรรค คือ บุคลากรบางท่านขาดความรู้ความเข้าใจและบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน โดยเสนอแนะให้ เจ้าหน้าที่ควรมีความรู้เพื่อการให้คำแนะนำที่ถูกต้อง 2. ควรอบรมให้ความรู้แก่มัคุเทศน์ในการให้ความรู้ผู้แสวงบุญ ด้านการอำนวยการ พบปัญหาและอุปสรรค คือ 1. ไม่ค่อยมีรถในการเดินทางตลอดการเดินทางเหมือนการทำบุญ 9 วัด ไม่จำเป็นต้องเป็นเทศบาลที่จัดรถ 2. ขาดนักประชาสัมพันธ์มืออาชีพด้านศาสนา โดยเสนอแนะว่า 1. ควรมีผู้ประสานงานและเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ 2. มอบหมายงานให้ทั่วถึงและครอบคลุม ด้านการกำกับดูแล พบปัญหาและอุปสรรค คือ 1. การแบ่งหน้าที่ระหว่างเทศบาลและวัด ยังแยกกันไม่ออก 2. มีบุคลากรที่หลากหลายในการดูแลจึงมีความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีข้อเสนอแนะว่า 1. ควรมอบหมายผู้กำกับดูแลและมีการประเมินอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำผลนี้ไปพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขต่อไป 2. อบรมบุคลากรที่หลากหลายให้มีแนวทางการกำกับดูแลให้เหมือนกัน
Download