หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัชชา เพียงพอ
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๙ ครั้ง
การจัดการความขัดแย้งในระบบสาธารณสุขไทยในทัศนะพุทธปรัชญา
ชื่อผู้วิจัย : ณัชชา เพียงพอ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุวิน ทองปั้น
  จรัส ลีกา
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความขัดแย้งในทัศนะพุทธปรัชญา ๒) เพื่อศึกษาความขัดแย้งในระบบสาธารณสุขไทย และ ๓) เพื่อการจัดการความขัดแย้งในระบบสาธารณสุขไทยในทัศนะพุทธปรัชญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เครื่องที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม และแบบสังเกต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๕ คน
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า ความขัดแย้งในทัศนะพุทธปรัชญา มี ๒ ประเภท คือความขัดแย้ง
ภายในและความขัดแย้งภายนอกความขัดแย้งทั้งหมดเกิดจากรากเหง้ามาจากอกุศลมูล ๓ ประการ
คือ ๑) โลภะ ได้แก่ความโลภอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตนเอง ๒) โทสะ ได้แก่ความคิดประทุษร้าย พยาบาท คิดปองร้ายผู้อื่น และ ๓) โมหะ ได้แก่ความหลงผิด ความไม่รู้จริง ความมัวเมา และความประมาท รากเหง้าแห่งความขัดแย้งทั้งสามประการนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะแสดงออกทางกาย วาจา และใจ สุดท้ายนำไปสู่ความขัดแย้งภายในครอบครัว สังคม องค์กร ประเทศชาติต่อไปความขัดแย้งในระบบสาธารณสุขไทย เป็นความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับผู้มารับบริการ ซึ่งเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ ๔ ประการ คือ ๑) ความไม่เสมอภาคจากการรับบริการที่มีความเหลื่อมล้ำกัน ๒) ความผิดพลาดในการให้บริการ จนทำให้มีการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้น ๓) ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ และ ๔) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์
การจัดการความขัดแย้งในระบบสาธารณสุขไทยในทัศนะพุทธปรัชญา โดยใช้กระบวนการการพูดคุยหรือเจรจาไกล่เกลี่ยอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน การเจรจาไกล่เกลี่ยทุกขั้นตอนจะนำหลักพุทธปรัชญาเข้าไปร่วมใช้ในการเจรจาไกล่เกลี่ย อันได้แก่ ๑) หลักอภัยทาน คือในการเจรจาไกล่เกลี่ยต้องมีการให้อภัยกัน ไม่พยาบาทต่อกัน ๒) หลักอหิงสา คือในการเจรจาไกล่เกลี่ยด้วยความไม่เบียดเบียนกัน ๓) หลักเมตตา คือในการเจรจาไกล่เกลี่ยด้วยความรักและความสงสารต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้ให้บริการและต่อผู้มารับบริการ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕