วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาพิธีกรรมมะม๊วต ของคนในตำบลกันทรารมย์อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ และความเชื่อพิธีกรรมในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทพร้อมวิเคราะห์คุณค่าของพิธีกรรมของมะม๊วตในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทผู้ศึกษาใช้การศึกษาเอกสาร ตำรา รายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ใช้วิทยานิพนธ์นี้
ผลการศึกษาพบว่าพิธีกรรมมะม๊วตของคนในตำบลกันทรารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มะม๊วตนั้นมีอยู่ ๒ ประเภทด้วยกันคือ ๑) มะม๊วตแขมร์ เป็นการเข้าทรงเพื่อรักษาคนป่วยหนัก ตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมร ๒) มะม๊วตโพง เป็นการเข้าทรงเพื่อรักษาคนป่วยและบูชาครูการประกอบพิธีเข้าทรงมะม๊วตเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยนั้น องค์ประกอบสำคัญของพิธีกรรมมะม๊วตนั้น ประกอบด้วย ๑) ผู้ร่วมพิธีกรรมอาจารย์ผู้ประกอบพิธี (อาจารย์ผู้เป็นร่างทรง ลูกศิษย์ของอาจารย์ผู้เป็นร่างทรง กลุ่มผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมพิธี) ๒) วันเวลาในการประกอบพิธีกรรม ๓) สถานที่ในการประกอบพิธีกรรม ๔) ดนตรีในการประกอบพิธีกรรม และ ๕) เครื่องประกอบที่ใช้ในพิธีกรรม
ความเชื่อพิธีกรรมมะม๊วตในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น พบว่า พิธีกรรมมะม๊วตไม่ได้เป็นพิธีกรรมที่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนที่นับถือผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษ
คุณค่าของพิธีกรรมมะม๊วตนั้น พบว่าพิธีกรรมดังกล่าวมีคุณค่าต่อระบบการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันของคนในสังคม การช่วยเหลือคนที่สิ้นหวังจากการเจ็บป่วยและคุณค่าด้านวัฒนธรรมประเพณีทำให้มีวัฒนธรรมในการร่ายรำ การร้องเพลง และการช่วยเหลือกันในยามเจ็บไข้ไม่สบาย
Download |