หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระศรีรัตนวิมล (วีรภัทร รตนปญฺโญ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๔ ครั้ง
กุศโลบายการพัฒนาจิตสาธารณะของเยาวชน ด้วยกิจกรรมส่งเสริมศีลธรรม (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระศรีรัตนวิมล (วีรภัทร รตนปญฺโญ) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมศีลธรรม เพื่อพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของเยาวชน ด้วยกิจกรรมส่งเสริมศีลธรรม และเพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติและนำเสนอกุศโลบายในการพัฒนาจิตสาธารณะของเยาวชน เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มทดลองได้แก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมศีลธรรม ในภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งเคยได้รับรางวัล โล่พระราชทานในระดับประเทศ จากการประกวดสวดมนต์หมู่ฯ ทำนองสรภัญญะ ในระดับมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า

พฤติกรรมจิตสาธารณะของเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมศีลธรรม ในภาพรวม มีระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะอยู่ในระดับมาก (= ๓.๙๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมจิตสาธารณะของเยาวชนที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการเคารพสิทธิของบุคคลอื่น และด้านที่อยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ด้านการเต็มใจช่วยเหลือสังคม ด้านการรับรู้และปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ และด้านการดูแลรักษาของส่วนรวม/พื้นที่สาธารณะ ตามลำดับ เมื่อทราบระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะของเยาวชนแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการทดลองด้วยการคัดเลือกเยาวชนจากกลุ่มตัวอย่างมาเข้าค่ายเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะด้วยกิจกรรมต่างๆที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นและในการเข้าค่ายพัฒนาจิตสาธารณะผู้วิจัยได้ใช้กุศโลบายโดยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ๓ หมวด คือ สังคหวัตถุธรรม กตัญญูกตเวทิตาธรรม และ พรหมวิหารธรรม มาประยุกต์เข้ากับกิจกรรมต่างๆที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดให้กับเยาวชน ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าหลักธรรมทั้ง๓หมวดนั้นตลอดถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น สามารถพัฒนา จิตสาธารณะของเยาวชนให้สูงขึ้นได้จริง เพราะก่อนและหลังเข้าค่าย เยาวชนได้ทำแบบประเมินระดับความรู้ด้านจิตสาธารณะ พบว่าระดับความรู้ความเข้าใจของเยาวชนหลังเข้าร่วมกิจกรรม (= ๒๐.๐๐) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (=๑๗.๒๐) และจากการลงพื้นที่ติดตามโครงงานและสัมภาษณ์ผู้ปกครองและครู จะเห็นได้ว่า เยาวชนสามารถนำโครงงานเพื่อจิตสาธารณะไปปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างแท้จริง

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕