หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิชญ์ อิสฺสรานนฺโท (ใจชื่น)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๑ ครั้ง
กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิชญ์ อิสฺสรานนฺโท (ใจชื่น) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ (๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จำนวน ๓๙๘ คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๐ รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
         ๑. กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๓ คือ ด้านกายภาวนา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๙) ด้านสีลภาวนา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๓๖) ด้านจิตภาวนา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๑) และด้านปัญญาภาวนา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๕)
            ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ อายุ และอาชีพ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ แต่ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ เพศ การศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
              ๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา ๔ พบว่า ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ ขาดการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามวิถีชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย ปัญหาจากการเน้นกิจกรรมทำบุญรักษาศีลในวันสำคัญทางศาสนาหรือวันธัมมัสสวนะเท่านั้น ปัญหาจากเน้นการจัดปฏิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เสริมกิจกรรมนันทนาการอื่น ๆ สำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ (บางคน) ขาดการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคใหม่ ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรรณรงค์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันเผยแพร่ความรู้เพื่อการดูแลสุขภาพตามวิถีชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยแก่ผู้สูงอายุทางสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ ควรสนับสนุนให้ทุกวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดงานวันสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสถาบันครอบครัว ควรส่งเสริมให้วัดที่มีความพร้อมจัดกิจกรรมพุทธศิลป์บำบัดที่ช่วยให้มีความรู้สึกผ่อนคลายให้เกิดความสุขทางใจสำหรับผู้สูงอายุควบคู่กับการปฏิบัติธรรม ควรสนับสนุนให้ทุกวัดเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและความรู้ใหม่ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกแก่ผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕