การวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ๒. เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตามความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๗๒ กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในอำเภอบางปลาม้า จำนวน ๒๑๖ รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๘ รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= ๒.๙๙, S.D. = ๐.๕๔๓) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านการวิชาการ ( = ๓.๘๑, S.D. = ๐.๖๙๗) ด้านบริหารสภาพแวดล้อม ( = ๓.๗๖, S.D. = ๐.๗๔๙) ด้านบริหารบุคคล ( = ๓.๗๕, S.D. = ๐.๗๐๗) ด้านบริหารงบประมาณ ( = ๓.๖๖, S.D. = ๐.๗๑๑) ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม วุฒิการศึกษาสามัญ พบว่า พระสงฆ์ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม วุฒิการศึกษาสามัญต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า เนื้อหาสาระ เก่าเกินไป และภาษาที่ใช้ในหนังสือเป็นภาษาที่เข้าใจยาก โดยเฉพาะเนื้อหาสาระในแผนกบาลีเน้นการจำและการแปลมากกว่าความเข้าใจ ขาดการประยุกต์ใช้ ไม่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน การจัดเวลาเรียนยังไม่เป็นระบบ ไม่แน่นอน มีเวลาเรียนน้อยเกินไป จึงไม่สามารถทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นข้อเสนอแนะ คณะสงฆ์ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหาให้น่าสนใจและง่ายขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการเรียนมากขึ้น และควรเน้นการท่องจำในส่วนที่ต้องใช้เฉพาะหรือที่สำคัญเพื่อนักเรียนเกิดความอยากเรียนมากขึ้นและไม่ท้อต่อการเรียน สร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัลแก่ผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือแก่นักเรียนที่สอบไล่ได้ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้เรียน มีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและทันสมัยมากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงสื่อมากยิ่งขึ้น ควรจัดหางบประมาณในการดำเนินงานจากภายนอก
Download |