การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล ๕ ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ๒. แนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล ๕ ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล ๕ ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๗๕๐ กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ๑.นักเรียนโรงเรียนบางปลาม้า“สูงสุมารผดุงวิทย์” ๒. นักเรียนโรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา๒ ๓. นักเรียนโรงเรียนบางแม่หม่ายรัฐราษฎ์รังสฤษดิ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๒๗๔ คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๙ รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อผลการดำเนินงานพัฒนาโครงการรักษาศีล ๕ ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =๓.๘๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบริบทของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =๓.๙๑, S.D.=๐.๘๐) รองลงมา คือ ด้านผลผลิต มีค่า ( =๓.๘๙, S.D.=๐.๘๘) และด้านปัจจัยนำเข้ามีค่า ( =๓.๘๕, S.D.=๐.๙๐) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านกระบวนการ มีค่า ( =๓.๘๐, S.D.=๐.๙๑)
๒. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อผลการพัฒนาโครงการรักษาศีล ๕ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มี อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
๓. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล ๕ ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ไม่มีผลการวิเคราะห์โครงการ ขาดการบูรณาการโครงการที่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกัน มีบางโรงเรียนไม่มีการประเมินและปรับแผน และไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุน ไม่มีการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ข้อเสนอแนะ คณะสงฆ์ต้องมีการวิเคราะห์ในด้านของสภาพโดยทั่วไปของโครงการเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายขององค์การต้นสังกัดของโรงเรียน ควรมีการเตรียมการภายในของโครงการ การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบและชัดเจน พระสงฆ์ต้องมีการวิเคราะห์ในด้านของปัจจัยการดำเนินงานตามโครงการ ความพร้อมของปัจจัยในด้านอื่น ๆ ได้แก่ ความเพียงพอในด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านอุปกรณ์/สื่อที่ใช้ในการพัฒนาโครงการ และเนื้อหาหลักสูตรที่ใช้ในการพัฒนานักเรียน พระสงฆ์ต้องมีการวิเคราะห์ ในด้านของกระบวนการดำเนินงานภายในโครงการ ได้แก่ การวางแผน การจัดกิจกรรม การดำเนินการเรียนการสอน การติดตามการประเมินผล การได้รับความสนับสนุนจากทางผู้บริหารและองค์การต้นสังกัด พระสงฆ์ต้องมีการวิเคราะห์ ในด้านนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการรักษาศีล ๕ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ และมีคุณลักษณะของผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศีล ๕ และควรนำผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการฯ มาเป็นฐานในการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง
Download
|