การศึกษาภาษาเขมรพนมเปญตามแนวภาษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ ๑) ศึกษาระบบเสียงภาษาเขมรพนมเปญ ๒) ระบบคำภาษาเขมรพนมเปญ ๓) ระบบประโยคภาษาเขมรพนมเปญ และ
๔) ศึกษาการเปรียบเทียบการใช้คำศัพท์ภาษาพูดและภาษา ข้อมูลที่รวบรวมได้จากผู้บอกภาษา ๑๐ ท่าน มีอายุมากกว่า ๕๐ปีขึ้นไป ที่เป็นชาวพนมเปญที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรกัมพูชา และเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งการศึกษาระบบเสียงภาษาเขมรพนมเปญ ได้แก่ ๑) หน่วยเสียงพยัญชนะและสระภาษาเขมรพนมเปญ ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๒๒ หน่วยเสียง คือ /p/, /t/, /c/, /k/, /q/, /ph/, /th /, /ch/, /kh/, /d/, /b/, /f /, /s/, /h/, /m/, /n/, /ñ/, /ŋ/, /r/, /l/, /w/, /y/ และหน่วยเสียงสระภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๓๑ หน่วยเสียง 2) คู่เทียบเสียงพยัญชนะภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๒๑ หน่วยเสียง และคู่เทียบเสียงสระภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๑๑ หน่วยเสียง ๓) เสียงพยัญชนะควบกล้ำภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๘๕ หน่วยเสียง และ ๔) หน่วยเสียงพยัญชนะกดภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๑๓ หน่วยเสียง คือ /k/, /ŋ/, /t/, /p/, /n/, /m/, /y/, /w/, /q/, /c/, /ñ/, /l/ และ /h/ การศึกษาระบบคำภาษาเขมรพนมเปญ ๑) หน่วยคำของภาษาเขมรพนมเปญ ได้แก่ หน่วยคําอิสระและหน่วยคำไม่อิสระ ๒) พยางค์ของภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๓ ชนิด คือคำพยางค์เดียว คำสองพยางค์และหลายพยางค์ ๓) กระบวนการสร้างคำของภาษาเขมรมีจำนวน ๑๒ วิธีและ ๔) การจำแนกหมวดของภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๑๐ หมวดการศึกษาระบบประโยคภาษาเขมรพนมเปญ มีจำนวน ๓ แบบ คือ ประโยคไม่สมบูรณ์ ประโยคสมบูรณ์ และประโยคซับซ้อน การเปรียบเทียบการใช้คำศัพท์ภาษาพูดและภาษาเขียนในภาษาเขมรพนมเปญ ซึ่งภาษาพูดมีใช้ทั่วไป โดยการใช้งานอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การใช้ภาษาเขมรพนมเปญมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบริบทการใช้ภาษาทางสังคมนั้นๆ
คำสำคัญ : ระบบเสียง ระบบคำ ระบบประโยค
Download |