การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑)เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาวิถีการดำเนินชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาครัฐในจังหวัดปทุมธานี๒)เพื่อศึกษาการพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักสังคหวัตถุ๔ของนักศึกษาปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาครัฐในจังหวัดปทุมธานี๓)เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักสังคหวัตถุ๔ของนักศึกษาปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาครัฐในจังหวัดปทุมธานีเป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง๓๗๔คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ๑) การวิเคราะห์เอกสาร และ ๒) การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ๗ ท่านวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพวิถีการดำเนินชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาครัฐในจังหวัดปทุมธานีโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในอยู่ในระดับมากทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ สังคมด้านตนเองและด้านการศึกษา
๒. การพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักศึกษาปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยภาครัฐในจังหวัดปทุมธานี เป็นการพัฒนานักศึกษาปริญญาตรีเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตมีความเป็นอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข โดยพัฒนาตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ประการ ประกอบด้วย
๒.๑ ทาน (โอบอ้อมอารี) การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว การให้ทานที่ให้เป็นบุญและทานที่ให้เป็นคุณ
๒.๒ ปิยวาจา (วจีไพเราะ) การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะกับกาลเทศะ พูดดีต่อกัน
๒.๓ อัตถจริยา (สังเคราะห์ชุมชน) การทำตนให้เป็นประโยชน์ช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคม
๒.๔ สมานัตตตา (วางตนพอดี) การวางตนให้เหมาะสมว่าตอนนี้เราอยู่ในฐานะใด โดยประพฤติตัวให้มีความเสมอต้นเสมอปลายวางตัวดีต่อกัน อันจะสามารถทำให้นักศึกษาเป็นที่รักและเป็นผู้ประพฤติตนตามหน้าที่นักศึกษาที่สมบูรณ์และเป็นผู้ดำรงชีวิตอยู่ในในสังคมด้วยความสุขเพราะเป็นผู้ให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีมีน้ำใจขึ้นทั้งในตนเอง ครอบครัว ชุมชน มหาวิทยาลัย สังคม และประเทศชาติ
๓. แนวทางการพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักศึกษาปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยภาครัฐในจังหวัดปทุมธานีประกอบด้วยทาน (โอบอ้อมอารี) ปิยวาจา (วจีไพเราะ) อัตถจริยา (สังเคราะห์ชุมชน) และสมานัตตตา (วางตนพอดี) โดยมีการพัฒนาวิธีการดำเนินชีวิตตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ประกอบด้วย
๓.๑ ด้านโอบอ้อมอารี (ทาน)การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น โดยมีกิจกรรมการพัฒนา คือ กิจกรรมร่วมพิธีถวายสังฆทานเป็นพระราชกุศล กิจกรรมธรรมศาสตร์แชริงเฟสติวัล (Thammasat Sharing Festival) กิจกรรมธรรมศาสตร์ตักบาตรเพื่อพ่อ กิจกรรมการบริจาคเงินและสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยประเทศเพื่อนบ้าน กิจกรรมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้
๓.๒ ด้านวจีไพเราะ (ปิยวาจา)คำพูดไพเราะ น่านิยมทุกถ้อยคำที่พูดแสดงถึงความรัก ความปรารถนาดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง โดยมีกิจกรรมการพัฒนา คือ โครงการวิปัสสนากรรมฐานประจำปี กิจกรรมค่ายคุณธรรมรักษาศีล ๘ โครงการรณรงค์ปฏิบัติบูชาสัมมาวาจา กิจกรรมค่ายสมาธิเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรมค่ายจัดระบบความคิดชีวิตเปลี่ยน
๓.๓ ด้านสังเคราะห์ชุมชน (อัตถจริยา) การทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีกิจกรรมการพัฒนา คือ โครงการบำเพ็ญประโยชน์ค่ายอาสา สงเคราะห์น้ำใจต้านภัยหนาวโครงการจริยธรรมสัญจรร่วมปลูกต้นไม้กับองค์การบริหารส่วนตำบล โครงการวันสำคัญของชาติและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โครงการพัฒนาทำความสะอาดสถานที่สำคัญในวัด รอบๆวิทยาเขต เป็นการบำเพ็ญกุศลก่อนวันสำคัญของชาติและศาสนา กิจกรรมบัณฑิตอาสาสมัครให้บัณฑิตออกไปสู่ชุมชนและชนบท
๓.๔ ด้านวางตนพอดี (สมานัตตตา)การวางตนให้พอดีในหน้าที่ของตนอย่างเสมอต้นเสมอโดยมีกิจกรรมการพัฒนา คือ กิจกรรมโครงการบายศรีสู่ขวัญต้อนรับน้องใหม่ จริยธรรมส่งเสริมให้พี่รหัสดูแลน้องรหัสในการใช้ชีวิตในรั้วมหาลัย กิจกรรมพิธีไหว้ครูทุกคณะ กิจกรรมแสดงตนเป็นพุทธมาฆกะ กิจกรรมธรรมศาตร์ทำนาเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับปัญหาและความทุกข์ยากของผู้อื่นกิจกรรมทำเพื่อพ่อในวันพ่อแห่งชาติ
Download |