การวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของพระสอนศีลธรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อพระสอนศีลธรรม 3) เพื่อเสนอแนะปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อพระสอนศีลธรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน ๒๙๑ คน ทั้งหมด ๗๑ โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน ๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพปัญหาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของพระสอนศีลธรรมทุกข้อผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ
๒. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อพระสอนศีลธรรม ได้แก่ การจัดหลักสูตรควรจัดให้กะทัดรัดเหมาะสมกับแต่ละช่วงชั้นมีความเป็นมืออาชีพและมีมาตรฐานเดียวกันทุกโรงเรียน มีแผนพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตและการใช้สื่อสมัยใหม่ จัดอบรมหรือสัมมนาเชิงวิชาการ ถ่ายทอดประสบการณ์การสอนจากผู้มีประสบการณ์ตรง หารูปแบบหรือเทคนิคการวัดผลที่สามารถจูงใจนักเรียนให้สนใจเรียนประเมินผลจากความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางระพุทธศาสนา ประสานความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียนเพื่อจัดอบรมถวายความรู้เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนในโรงเรียน หาแนวทางสร้างแรงจูงใจให้ครูพระมีความมุ่งมั่นในการสอน มีแนวทางพัฒนาและส่งเสริมอย่างเป็นระบบ
๓. เสนอแนวทางการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อพระสอนศีลธรรม ได้แก่ ให้พระสอนศีลธรรมมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรที่ได้จะมีความสอดคล้องกับการนำไปใช้จริง จัดอบรมถวายความรู้ให้พระสอนศีลธรรมเน้นให้ได้ปฏิบัติจริงเพื่อจะได้รับทั้งความรู้และได้ฝึกทักษะในการปฏิบัติงาน ให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อกับพระสอนศีลธรรมเกี่ยวกับการใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นสื่อการเรียนการสอน จัดให้มีการนิเทศติดตามและประเมิน การสอนพระสอนศีลธรรมอย่างต่อเนื่อง ผู้อำนวยการและบุคลากรของโรงเรียนควรให้ความสำคัญกับพระสอนศีลธรรมเกี่ยวกับด้านการจัดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้อย่างเต็มที่
Download |