หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สาลี่ นิรามัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
การรับรู้อารมณ์ทางอายตนะของนิสิตในโรงเรียนอภิธรรมโชติกะ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (สาขาวิชาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : สาลี่ นิรามัย ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาการรับรู้อารมณ์ทางอายตนะที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเปรียบเทียบการรับรู้อารมณ์ทางอายตนะของนิสิต และพยากรณ์ทำนายปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านคุณธรรม และปัจจัยด้านจิตลักษณะที่ส่งผลต่อการรับรู้ทางอายตนะของนิสิตในโรงเรียนอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนิสิต รวมทั้งสิ้น ๑๔๒ รูป/คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติวิเคราะห์ด้วย One-way ANOVA  และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ทั้งนี้การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของตัวแปรในสมการพยากรณ์
              ผลการวิจัยวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่า กระบวนการรับรู้ของจิตและสมอง เกิดจากการกระทบกันระหว่างอายตนะภายนอกหรือสิ่งเร้าภายนอกกับอายตนะภายใน ซึ่งเป็นประสาทรับรู้ข้อมูล ก่อนที่จะถูกกระแสจิตออกมารับรู้ และประมวลผลการรับรู้ตามหลักในพระพุทธศาสนา และหลักการเดียวกันในทางสรีรวิทยานั้นเป็นหน้าที่ของโครงสร้างระบบประสาทสัมผัส และส่งไปที่สมอง ซึ่งเป็นความแตกต่างกันในทัศนะของทั้งสองฝ่าย เพราะทางพุทธปรัชญาเถรวาท อธิบายว่ารูปเป็นเพียงสื่อกลางในการรับรู้ข้อมูล มีระบบการทำงานตามธรรมชาติ และแสดงออกทางการกระทำ ภายใต้การควบคุมของจิต ส่วนการรับรู้เป็นหน้าที่ของจิต แต่ในหลักสรีรวิทยา ไม่มีนามธรรม ทุกสิ่งเกิดจากลักษณะทางกายภาพ เกิดจากโครงสร้างการทำงานของระบบประสาท โดยมีสมองทำหน้าที่หลักในการประมวลผลการรับรู้ จิตในทางสรีรวิทยานั้น คือ ผลลัพธ์การทำงานของสมอง       
                การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านคุณธรรม และปัจจัยด้านจิตลักษณะ กับการรับรู้อารมณ์ทางอายตนะของนิสิต พบว่าปัจจัยด้านคุณธรรมและปัจจัยด้านจิตลักษณะ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้อารมณ์ทางอายตนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕  คือ .๒๔  และ .๒๘  ตามลำดับ  ส่วนปัจจัยด้านสังคมมีความสัมพันธ์แบบไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจากค่า Correlation matrix ของปัจจัยดังกล่าว ไม่พบว่าปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระทั้ง ๓ ตัว มีความสัมพันธ์กันเอง คือไม่เกิดเกิดปัญหา Multicollinearity (r >0.85)
                  ส่วนการพยากรณ์ทำนายมีผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระพบว่า ปัจจัยจิตลักษณะ อายุ และอาชีพ สามารถสร้างสมการการรับรู้อารมณ์ทางอายตนะของนิสิตได้ โดยตัวแปรทั้ง ๓ ตัว ร่วมกันพยากรณ์การรับรู้อารมณ์ทางอายตนะของนิสิตได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๑๙.๘ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ ตามลำดับ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕