การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ๒. เพื่อเปรียบเทียบความเห็นคิดต่อการบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กและเยาวชน ผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน ๑๖๔ คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยวิธีการแจกแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๐๕ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน ๘ รูป/คน เลือกเฉพาะเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
๑ เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๐,S.D.=๐.๓๔๐) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน ( =๔.๓๐,S.D.=๐.๔๒) ด้านการวางแผนการดำเนินการ ( =๔.๒๑,S.D.=๐.๔๙) ด้านการเตรียมการดำเนินงาน ( =๔.๑๙,S.D.=๐.๔๗) ด้านกิจกรรมภาคปฏิบัติ ( =๔.๑๗,S.D.=๐.๔๗) ด้านวิธีการฝึกอบรม ( =๔.๑๕,S.D.=๐.๔๗) ด้านปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ( =๓.๙๑,S.D.=๐.๕๙) ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียนระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนที่มี ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ การบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนเด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนที่มี อายุ สถานภาพครอบครัว การสนับสนุน ภาระค่าใช้จ่าย ต่างกันมีความคิดเห็นต่อ การบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
๓. ปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ๑) ด้านการเตรียมการดำเนินงาน ไม่มีเวลาเตรียมงาน ขาดการประชาสัมพันธ์และวางแผนงาน ๒) ด้านการวางแผนการดำเนินงาน ผู้ปกครองไม่มีส่วนรวมและขาดการประสานงานและไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเพียงพอ ๓) ด้านวิธีการฝึกอบรม ยังขาดความวิทยากรที่มีความสามารถในการฝึกอบรมที่ดี ๔) ด้านกิจกรรมภาคปฏิบัติ ผู้อบรมเกิดความเบื่อหน่าย ไม่สนใจในการอบรม ๕) ด้านวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน ไม่สามารถติดตามประเมินผลได้ ๖) ด้านปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ขาดงบประมาณสนับสนุนมีผู้สนใจน้อยไม่ได้รับความร่วมมือ ดังนั้นข้อเสนอแนะ ในการบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ มีการกำหนดวัตถุประสงค์การจัดงานที่ชัดเจน จัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ และติดต่อประสานงานกันหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านการวางแผนการดำเนินงาน การชี้แจงกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ของโครงการให้ผู้จะบวชและผู้ปกครองเข้าใจ และเสนอความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม มีการประชุมปรึกษาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จัดหาพระวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการอบรมกิจกรรม มีการทำวัตร เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล มีการติดตามความเปลี่ยนแปลงของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังอบรม จัดหางบประมาณจากภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนโครงการ
Download |