วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ๑. ศึกษาสภาพความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อแนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ๒. ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อแนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อ แนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๑๕ กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในอำเภอโนนไทย จำนวน ๑๕๖ รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีเทส และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๘ รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑.
พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อแนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๓.๗๕, S.D.=๐.๖๐๔) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านผู้รับสาร ( =๓.๘๘, S.D =๐.๖๙๖) ด้านสาร (=๓.๘๐, S.D.=๐.๗๐๓) ด้านผู้ส่งสาร (=๓.๗๕,S.D.=๐.๖๙๖) และด้านช่องทางการสื่อสาร (=๓.๖๑,S.D.=๐.๖๓๑) ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อแนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม วุฒิการศึกษาสามัญ และ การใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อวัน พบว่า พระสงฆ์ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม วุฒิการศึกษาสามัญ และ การใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อวันต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีตำแหน่งในคณะสงฆ์ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในแนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ๑) ด้านผู้ส่งสาร ยังขาดพระสงฆ์นักเผยแผ่ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ๒) ด้านสาร พระสงฆ์นักเผยแผ่ใช้ภาษาและสำนวนที่เข้าใจยาก ขาดการอธิบายโดยละเอียด ทำให้ผู้รับสารตีความหมายผิดเพี้ยนไป ๓) ด้านช่องทางการสื่อสาร พระสงฆ์ยังขาดทักษะในการใช้งานสื่อออนไลน์ และ ๔) ด้านผู้รับสาร ยังขาดวิจารณญาณในการรับข้อมูล ดังนั้น ข้อเสนอแนะ คือ คณะสงฆ์จึงต้องจัดอบรมพัฒนาความรู้ให้พระสงฆ์ และสร้างทีมงานในการปฏิบัติงานให้เข็มแข้ง การใช้ภาษาและสำนวนที่เข้าใจง่าย ละเอียด และมีความหมายไม่ผิดเพี้ยน ต้องจัดอบรมพัฒนาทักษะการใช้งานสื่อออนไลน์ และผู้รับสารต้องพิจารณาใคร่ควรก่อนรับสารหรือข้อความนั้น ๆ ไป และ ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ผู้ส่งสารต้องใช้ภาษาที่เหมาะสม ฟังง่าย อยากนำไปปฏิบัติ มีการวางแผนงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เลือกช่องทางในการสื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสาร ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร มีการจัดตั้งทีมงานเพื่อทำงานและติดตามประเมินผลการทำงานเพื่อหาข้อดีข้อเสียและนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ในแนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จึงจะประสบความสำเร็จ
Download
|