หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบุญจันทร์ จนฺทธมฺโม (จันทสิทธิ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๒ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของคณะสงฆ์ลาว
ชื่อผู้วิจัย : พระบุญจันทร์ จนฺทธมฺโม (จันทสิทธิ์) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาทางการศึกษาของคณะสงฆ์ลาว ๒) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของคณะสงฆ์ลาว และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของคณะสงฆ์ลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ จำนวน ๓๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า

บริบทและสภาพของบุคลากรทางการศึกษาของคณะสงฆ์ลาวมีน้อย และมีภาระงานมากจึงทำให้การปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจตัวชี้วัดการบริหารจัดการศึกษา และการเข้ามามีส่วนรวมของรัฐบาลด้านบุคลากร ด้านวิชาการ ก็นับได้ว่ายังมีไม่เพียงพอ บริบท และ สภาพการพัฒนาทางการศึกษาของคณะสงฆ์ลาวมีบาดก้าวขยายตัวพอสมควร ซึ่งเห็นได้จากผู้ปฏิบัติงาน มีการเคลื่อนไหวยกละดับด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การจัดการศึกษาของสงฆ์ลาวเป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาของภาครัฐที่มีต่อพระสงฆ์ลาวโดยมีลักษณะ อาศัยสนิกชนผู้มีจิตใจศรัทธาทำนุบํารุงและจากทางภาครัฐ ในปัจจุบันการจัดการศึกษามีหลากหลายและมีองค์กรรับผิดชอบ เช่น การศึกษาพระปริยัติธรรม ในความดูแลของคณะกรรมการการศึกษาสงฆ์สวนกลาง โดยมีกรมการศาสนาเป็นผู้สนองนโยบาย การศึกษาหลักสูตร แผนกสามัญศึกษาทั้งมัธยมศึกษาสงฆ์ตอนต้นและตอนปลาย วิทยาลัยสงฆ์อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา มีการบริหารจัดการและงบประมาณที่ชัดเจน การจัดการศึกษาสงฆ์ก็เช่นเดียวกับการจัดการศึกษาทางโลกคือจะต้องมีคุณภาพ แต่จะมีคุณภาพที่ดีไดนั้นจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลากร อาคารสถานที่ หลักสูตรที่เหมาะสม การวัดประเมินผลงบประมาณ การบริหารจัดการที่เหมาะสม ฯลฯ การศึกษาวิจัยสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาสงฆ์ตามองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาการศึกษาสงฆ์ต่อไป

การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของคณะสงฆ์ลาว มีการสรรหาบุคลากรและจะต้องมีการสอบคัดเลือกทั้งด้านทฤษฎี และประสบการณ์การทำงาน จะต้องคัดเลือกบุคคลผู้ที่มีความสามารถทั้งด้านวิชาการและการจัดการเรียนการสอน มีประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อที่จะให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ ไม่ลำเอียงผู้ใดผู้หนึ่งมีกฎเกณฑ์การสรรหาที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่เห็นแก่ลาภสักการะ มีความสื่อสัตว์ในการคัดเลือก มีความยุติธรรมเป็นหลักสำคัญในการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงานโดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาของคณะสงฆ์ลาว การบริหารบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารจะต้องกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน มียุทธศาสตร์ในการบริหารงานบุคลากรที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการบริหารอย่างเป็นระบบ มีการจัดโครงการบริหารงานให้เป็นระบบ การวางแผนความต้องการบุคลากรเข้าทำงานที่ชัดเจนลดขั้นตอนการบริหารที่ไม่จำเป็นทำให้เกิดความล่าช้าออกไป การบริหารงานบุคลากรและการบริหารงานวิชาการเป็นระบบ มีการตรวจสอบ ปรับปรุง พัฒนาเป็นปัจจุบัน ทันสมัยสอดคล้องกับผู้บริหารและบริบทของการศึกษาของคณะสงฆ์ลาว สำหรับสิ่งที่เป็นโอกาส ได้แก่ การศึกษาของคณะสงฆ์ลาว มีการแลกเปลี่ยนแหล่งการเรียนรู้ กับหลายสถาบันที่มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้อง และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด

รูปแบบการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสงฆ์ลาวมีการคัดกรองบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ คือ ตรงตามความถนัดในรายวิชา หรือตำแหน่งที่ต้องการ มีความเป็นนักวิชาการที่เหมาะสมรวมถึงพฤติกรรม ความรู้รอบตัว ความสามารถพิเศษ ที่สำคัญคือเป็นผู้มีคุณธรรมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น มีการผูกมิตรไมตรีที่ดี การเข้ากับสังคม งานวิชาการเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะต้องขับเคลื่อนลงสู่สถานศึกษาอย่างทันทีส่งเสริมสนับสนุนประสิทธิภาพในการทำงานทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระบบประกันคุณภาพการปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ที่ดีเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องประกอบกับการบริหารงานวิชาการจะต้องหาแนวทางในการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงานวิชาการ

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕