การศึกษาวิจัย นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบพุทธพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ๒) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วัดป่านาคำ ตำบลจุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ๓) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพุทธพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วัดป่านาคำ ตำบลจุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำราวิชาการ หนังสือ งานวิทยานิพนธ์ งานวิจัยต่างๆ รวมทั้งทำการวิจัยภาคสนาม (Field Research) โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งเป็นการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา (Descriptive research)
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เป็นกระบวนการเสริมสร้างชุมชนที่มุ่งส่งเสริมประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกด้าน โดยประชาชนเป็นผู้ริเริ่มในการพัฒนาด้วยการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดและเสริมด้วยการช่วยเหลือจากภายนอกเท่าที่จำเป็น การพัฒนาเป็นการทำให้เกิดความเจริญขึ้นหรือดีขึ้น ทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจจึงจะเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์เพราะชีวิตประกอบด้วยกายและจิตใจ
สภาพการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วัดป่านาคำ ตำบลจุ่มจัง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการพัฒนาชนบท ที่พระสงฆ์พัฒนาดำเนินการมีโครงการที่ครอบคลุมเรื่องราวทั้งทางโลกและทางธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญ โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดชุมชนที่มีความเข้มแข็ง
รูปแบบพุทธพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วัดป่านาคำ ตำบลจุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาชุมชนเข้มแข็งทั้ง ๕ ด้าน ๑) ด้านจิตใจ มีจิตใจที่เข้มแข็งทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี มีความเอื้ออาทรซื่อสัตย์สุจริตเห็นประโยชน์ส่วนร่วมเป็นสำคัญ ๒) ด้านเศรษฐกิจ รู้จักลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ยึดหลักพออยู่พอกินพอใช้และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองไม่เป็นหนี้มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น ๓) ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นการปฏิบัติตนต่อสิ่งแวดล้อม ใช้และจัดการอย่างฉลาดรักษาสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่เบียดเบียนและไม่ใช้สารเคมียาปราบศัตรูพืชไม่ทำลายสภาพดิน ๔) ด้านเทคโนโลยี่ ให้รู้จักคุณค่าแท้ คือประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี่ คุณค่าเทียม คือ การใช้เพื่อสนองกิเลสตัณหา เทคโนโลยี่ที่เข้ามามีทั้งดีและไม่ดีจึงต้องใช้เทคโนโลยี่ด้วยสติปัญญา ๕) ด้านสังคม เป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายมีความรักสามัคคีเกิดชุมชนเข้มแข็งเป็นลักษณะพึ่งพาตนเองได้ แล้วก็จะเกิดภาวะพึ่งพากันเองและเชื่อมโยงเครือข่ายตามหลักพุทธพัฒนา
Download
|