วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหลักการพึ่งตนเองตามหลักพุทธธรรมบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาและการศึกษาบทบาทของพระครูพิพิธธรรมรสในการส่งเสริมการพึ่งตนเองผลการวิจัย พบว่า พระครูพิพิธรรมรสได้รับแนวคิดในการพึ่งตนเอง จากท่านพุทธทาสภิกขุ แล้วนำมาใช้ให้เหมาะสมแก่ชุมชนที่ตนไปพัฒนา โดยเริ่มจากปัจจัยที่มีผลให้ท่านมีแรงขับเคลื่อนกาารทำงาน จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สภาพปัญหาที่ทำกินการขาดแคลนแหล่งน้ำบริโภค น้ำดื่ม การว่างงานของชาวบ้าน การเล่นการพนันของชาวบ้านชาวบ้านขาดความสามัคคี การไม่รู้จักนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้รักษาโรค เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาไม่มากนัก การใช้แรงงานสัตว์ไม่เหมาะสม การไม่รู้จักปลูกพืชสวนคร้วและอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในด้านการแก้ปัญหาเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ผลการศึกษา พบว่าพระครูพิพิธธรรมรส ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และส่งเสริมโครงการ ตลอดทั้งกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้
(๑) โครงการปลูกป่าเพื่ออนาคตของขุมชนและเยาวชน
(๒) โครงการสมุนไพรเพื่อการพี่งตนเอง
(๓) โครงการธนาคารข้าวโค-กระบือ สำหรับผู้ขาดแคลน
(๔) โครงการอาหารกลางวันแต่น้องผู้หิวโหย
(๕) โครงการนิคมเกษตรชาวพุทธ
วิธีการส่งเสริม คือ ให้ชาวบ้านปฎิบัติตามคำแนะนำ และท่านเป็นผู้นำในการทำโครงการต่างๆ นั้น อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในบางโครงการก็ประสบความล้มเหลว เนื่องจาก การบริหารงานไม่ครบวงจรบ้าง บุคคลผู้ปฎิบัติไม่มีความเข้าใจละเอียดบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ทำให้ชวนบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ นอกจากนั้น ท่านยังส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีกระทั่งฟี้นฟูแผ่นดินที่แห้งแล้งให้เขียวชอุ่มคืนมาได้ และชาวบ้านก็มีงานทำ ไม่ว่างงาน
เหมือนแต่เดิม มีรายได้เพิ่มต่อครัวเรือน เลิกเล่นการพนัน มีความขยันในการทำมาหาเลี้ยงชีพในด้านหลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ได้แก่ กฎแห่งกรรม สังคหวัดถุธรรม,เบญจศีล,ความสันโดษและอิทธิบาทปราซญ์ชาวบ้านที่ปฎิบัติตามคำสอนของท่าน ที่ได้รับผลสำเร็จในการพื่งตนเองแบบพุทธเกษตร ได้แก่ พ่อบุญเต็ม ชัยลา,พ่อทัด กระยอม และ พ่อผอง เกตุพิบูลย์ โดยการปลูกพืชหมุนเวียน การเลี้ยงสัตว์จำพวก เป็ด ไก่ สุกร ตลอดทั้งการเลี้ยงปลา กาปลูกผักสวนครัว
|