หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เสกศักดิ์ ขลิบทอง
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
กระบวนการสร้างทุนทางปัญญาเชิงพุทธของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม ในจังหวัดสมุทรสาคร (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : เสกศักดิ์ ขลิบทอง ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิวัฒน์ หามนตรี
  เดชา กัปโก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการสร้างทุนทางปัญญาของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม ๒) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างทุนทางปัญญาเชิงพุทธของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม ในจังหวัดสมุทรสาคร และ ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างทุนทางปัญญาเชิงพุทธของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม ในจังหวัดสมุทรสาคร

             ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (In-depth interview) จำนวน ๑๘ คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่    แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ 

             ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

             ๑. สภาพการสร้างทุนทางปัญญาของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม พบว่า ผู้บริหาร     มีกระบวนการผลิตและระบบการจัดการของเสียจากโรงงาน ปฏิบัติตามโครงการที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ มีการจัดทำโครงการรณรงค์ไม่ทิ้งขยะภายในโรงงานและชุมชน สนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน วัด และชุมชน มีการตรวจประเมินมาตรฐานโรงงานให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย และชุมชนมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความโปร่งใส ยึดหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อันเป็นกลไกต่อเนื่องของกฎหมายโรงงาน และจริยธรรมทางธุรกิจ โดยที่แท้ ผู้บริหารมีการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของพนักงาน

            ๒. การพัฒนากระบวนการสร้างทุนทางปัญญาเชิงพุทธของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม ในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า

                ๑) กระบวนการสร้างทุนทางปัญญาเชิงพุทธเกี่ยวกับทุนมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ๓ พบว่า มีการใช้ศีลเป็นตัวกำหนดให้เป็นกฎ กติกา ระเบียบวินัยหรือข้อบังคับในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงาน มีการส่งเสริมให้พนักงานได้ฝึกสมาธิ เพื่อให้พนักงานมีสติในการทำงาน และมีการระดมสมอง คิดวิเคราะห์ แยกแยะตามเหตุปัจจัย หาเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการบริหารความขัดแย้ง

                ๒) กระบวนการสร้างทุนทางปัญญาเชิงพุทธเกี่ยวกับทุนทางสังคมตามหลักไตรสิกขา ๓ พบว่า มีการแลกเปลี่ยนความรูและความสัมพันธ์ช่วยใหแต่ละบุคคลเขาถึงความรูและทักษะต่างๆ     มีการเสริมสร้างจิตสำนึกตั้งแต่ระดับผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย พนักงานทุกแผนกให้มีความรัก          ความผูกพันถึงความเป็นเจ้าของบริษัทร่วมกัน และมีการยกระดับความรู้ ความสามารถ และทักษะของพนักงาน และมีการพัฒนาโดยปรับเปลี่ยนขีดสมรรถนะกำลังคน ที่มุ่งเน้นงานฝึกอบรมให้พนักงานยึดมั่นในกฎระเบียบของบริษัท มีความซื่อตรง เป็นธรรม เสียสละเพื่อบริษัทและมีการบูรณาการกับส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมาย ภายใต้กิจกรรมการสร้างความผูกพันของทุนทางโครงสร้าง ที่จะรักษาสมาชิกที่ดีมีฝีมือไว้กับบริษัท ตลอดถึงยึดหลักการและการประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นของพนักงาน สถานการณ์     การจัดโครงสร้าง การบริหารโดยยึดกระบวนการบริหารพนักงานเป็นหลักในกระบวนทัศน์ใหม่

๓. แนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างทุนทางปัญญาเชิงพุทธของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม ในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า

๑) แนวทางการพัฒนาทุนทางปัญญาเชิงพุทธของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม    ด้วยศีล พบว่า มีการยอมรับกฎระเบียบของบริษัท การปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานตระหนักในคุณค่าของตนเองและเพื่อนร่วมงาน สร้างทัศนคติที่ดีนำไปสู่การสร้างประโยชน์ต่อบริษัท และผู้บริหารมีการจัดทำโครงการฝึกอบรมพนักงานให้สามารถเป็นแบบอย่างของความประพฤติดีได้ด้วยศีล  

๒) แนวทางการพัฒนาทุนทางปัญญาเชิงพุทธของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม    ด้วยสมาธิ พบว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงาน       ในบริษัทให้เป็นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

๓) แนวทางการพัฒนาทุนทางปัญญาเชิงพุทธของผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม      ด้วยปัญญา พบว่า มีการจัดการความรู้ ต่อยอดความคิดสร้างนวัตกรรม การพัฒนาทุนทางปัญญาเชิงกลยุทธ์ที่ระบุ หรือจัดคนให้ทำงานตรงกับความรู้ ความเชี่ยวชาญของพนักงาน ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม การมีส่วนร่วม การปฏิบัติตามหลักของกฎหมาย และการสร้างเครือข่ายจิตอาสาหรือทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕