หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
  พระครูพิพิธปริยัติกิจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของวัดและแนวคิดของการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา ในจังหวัดสระบุรี ๒) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา ในจังหวัดสระบุรี ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา ในจังหวัดสระบุรี เป็นวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๙ คน ด้วยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) และ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญ คือ ผู้มาทำบุญที่วัดพระพุทธบาทจำนวน ๔๐๐ คน เพื่อสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. สภาพปัญหาของวัดและแนวคิดการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยาในจังหวัดสระบุรี จากการวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็งของวัด ในจังหวัดสระบุรีมีวัตรปฏิบัติมุ่งสู่วิธีการปฏิบัติธรรม มีความสงบ ปราศจากการรบกวน โดยสภาพบริเวณรอบๆ ถือเป็นเขตเมืองมีความเจริญ ไปมาสะดวก สามารถหาพาหนะเดินทางได้ง่าย บรรยากาศในวัดสะอาด สงบ ร่มรื่น โปร่ง ลมพัดเย็นสบาย โคจรคามรอบๆ บริเวณวัดพระพุทธบาทและมีชุมชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จุดอ่อนคือ การจัดสภาพแวดล้อมมีสภาพไม่เอื้อต่อความเป็นสัปปายะและบ้านชุมชนรอบวัด มีความกลัวการเปลี่ยนแปลงและการทำลายความเป็นโบราณสถานของวัด

             ๒. สร้างรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิยาในจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย ๑) ด้านสภาพแวดล้อมภายในวัด คือ จัดมุมรมณียสถานในวัด มีป้ายประชาสัมพันธ์ มีมุมเก็บภาพที่ระลึก ต้นไม้พูดได้ มีป้ายปริศนาธรรมนำชีวิต ๒) ด้านกิจกรรมบุญสร้างสุขคือ รับบาตรในศาลา การสวดมนต์ การฟังธรรม การจัดค่ายคุณธรรม ชีวิตพัฒนาได้ถ้าใจมีศีล ๓) ด้านกิจกรรมชุมชนสร้างสุข คือ แจกทานผู้ยากไร้รอบวัด จิตอาสาพัฒนาวัด ทักษะชีวิต เกมชีวิตพิชิตทุกสิ่งและพัฒนาชีวิตพลิกวิกฤติเป็นโอกาส

             ๓. จากการประเมินความพึงพอใจของผู้มาทำบุญที่วัด พบว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยาอยู่ในระดับมาก เป็นการยืนยันการพัฒนาวัดตาม โมเดล ACCG  Wat Model เป็นรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขที่สามารถทำให้ผู้เข้ามาทำบุญที่วัดมีความสุขตามกรอบสุขภาวะ ๔ ด้านคือ กาย อารมณ์ สังคม และ ปัญญา 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕