การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพความเหมาะสมของตัวบ่งชี้คุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อพัฒนาตัวบงชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และ ๓) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ๑๕๕ คนเครื่องมือที่ใช้การวิจัย ๑. แบบสัมภาษณ์และ ๒.แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วย โปรแกรม LISREL
ผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพความเหมาะสมของตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษาพบว่า ตัวบ่งชี้ที่มีความเหมาะสม จำแนกออกเป็น ๘ องค์ประกอบหลัก ๔๖ ตัวบ่งชี้
๒. การพัฒนาตัวบงชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษาพบว่า จากการนำตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาไปวิเคราะห์ด้วยวิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากแวริแมกซ์สามารถจัดกลุ่มใหม่เข้าองค์ประกอบ ได้จำนวน ๖ องค์ประกอบหลัก ๔๐ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ ๑ ด้านการเป็นพลเมืองของชาติ, องค์ประกอบที่ ๒ ด้านการมีส่วนร่วมต่อสังคม, องค์ประกอบที่ ๓ ด้านจิตสำนึกรักความเป็นไทย, องค์ประกอบที่ ๔ ด้านความซื่อตรง สุจริตใจ, องค์ประกอบที่ ๕ ด้านการมีวินัยต่อตนเองและ องค์ประกอบที่ ๖ ด้านการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต
๓. ผลการวิจัยเกี่ยวกับการตรวจสอบความสอดคลองของตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึง ประสงคของนักเรียนในสถานศึกษาพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X๒= ๑๑๘๓.๙๓, df=๗๒๕, p=๐.๐๐, X๒/df= ๑.๖๓, GFI=๑.๐๐, AGFI = ๐.๙๘, RMSEA = ๐.๐๖๔)
Download |