หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รุ่งรัตน์ สุวนาคกุล
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การพัฒนาเทคนิคการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อจัดการความโกรธของวัยรุ่นด้วยพุทธสันติวิธี (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : รุ่งรัตน์ สุวนาคกุล ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  บรรจบ บรรณรุจิ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการจัดการความโกรธของวัยรุ่นตามทฤษฎีทางตะวันตกและพุทธสันติวิธี ๒) เพื่อสร้างกระบวนการจัดการความโกรธของวัยรุ่นด้วยชุดฝึกการจัดการความโกรธของวัยรุ่นโดยการพัฒนาเทคนิคการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วย
พุทธสันติวิธี ๓) เพื่อนำเสนอผลของกระบวนการจัดการความโกรธของวัยรุ่นด้วยชุดฝึกการจัดการความโกรธของวัยรุ่น โดยการพัฒนาเทคนิคการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยพุทธสันติวิธี
ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (
Mixed Method Research Design) โดยนำชุดฝึกที่สร้างขึ้น
ไปทดลองด้วยการฝึกอบรมกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ๒๐ คน และ
กลุ่มควบคุม ๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกอบรมการจัดการความโกรธของวัยรุ่น แบบสำรวจการจัดการความโกรธ แบบประเมินสติ แบบบันทึกการฝึกสติ แบบบันทึกการจัดการความโกรธ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยผลการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองโดยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน ๒ ทาง (
Two-Way ANOVA: T-test, p-value)

ผลการศึกษาพบว่า แนวคิด ทฤษฎีทางตะวันตกและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการความโกรธมีความสอดคล้องกันคือ ในเรื่องของสาเหตุของความโกรธ การแสดงความโกรธ และผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้แนวคิดพุทธสันติวิธีสามารถอธิบายได้ถึงแก่นหรือรากแท้ของความโกรธ ดังนั้นการพัฒนาสันติภายในสามารถใช้ในการจัดการความโกรธได้

กระบวนการจัดการความโกรธของวัยรุ่นด้วยชุดฝึกการจัดการความโกรธของวัยรุ่นโดยการพัฒนาเทคนิคการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยพุทธสันติวิธี ผู้วิจัยได้นำหลักขันติ เมตตา กระบวนการคิดและเข้าใจอย่างถูกต้องแบบโยนิโสมนสิการ ทักษะการจัดการความโกรธโดยมีสติกำกับ เพื่อให้เกิดการแปรเปลี่ยนความโกรธเป็นพลังที่สร้างสรรค์  โดยชุดฝึกอบรมฯ เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ และเข้าใจอารมณ์ของตนเอง มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฝึกทักษะ และให้ทำการบ้าน โดยชุดฝึกอบรมฯ ประกอบด้วยกิจกรรมฝึกสติ ๑ กิจกรรม และกิจกรรมการจัดการความโกรธ
๑๐ กิจกรรม

จากการนำชุดฝึกอบรมฯ ไปทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยจากแบบสำรวจการจัดการความโกรธ และแบบประเมินสติสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ การวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า
R-E-S-T Model  คือ R-Reasoned attention: การฝึกคิดให้เกิดปัญญาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ E-Encourages learning contribute experience: กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์
S-Satipatthana: สติ-กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้รู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นและสภาวะทางกายเคลื่อนไหว เช่น การหายใจเข้า หายใจออก  ซึ่งกระบวนการฝึกสติในการวิจัยนี้ แบ่งเป็น
๓ ระยะ กล่าวคือ ระยะเริ่มต้น (
Start) ก่อนเริ่มกิจกรรม ระยะเข้มแข็ง (Strong) คือ การมีสติในระหว่างดำเนินกิจกรรม และระยะมั่นคง (Strive) คือ การฝึกสติต่อเนื่องหลังจบการทดลอง ส่งผลให้เกิด T-Transform anger with cultivate compassion and tolerance: คือการแปรเปลี่ยนความโกรธด้วยการปลูกฝังความเมตตาและความอดทน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕