งานวิจัยนี้ผู้วิจัยมี ๓ วัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ ๑) เพื่อศึกษาอุปสรรคและวิธีการในการสื่อสารในปัจจุบันขององค์กร ๒) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี, และ ๓) เพื่อนำเสนอผลกระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research Design) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบการทดลองนำร่อง (Pre - Experimental Design) เพื่อทดลองชุดฝึกอบรมฯ กับกลุ่มตัวอย่างพนักงานเอกชน จำนวน ๑๗ คน โดยทำการวิเคราะห์ผลด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เพื่อปรับปรุงพัฒนาและนำเสนอชุดฝึกอบรมการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี
ผลวิจัยพบว่า
๑) วิธีการสื่อสารปัจจุบันในองค์กรมีหลายช่องทางและหลายรูปแบบ กล่าวคือ ทางไลน์, อีเมล์, โทรศัพท์ และพูดกันแบบเห็นหน้ากัน วิธีการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดคือ การพูดคุยกันแบบเห็นหน้า รองลงมาคือ การคุยกันทางโทรศัพท์ และทางไลน์ อุปสรรคในการสื่อสารในองค์กร คือ การสื่อสารที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง, การได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน, การไม่เปิดอีเมล์อ่าน เป็นต้น
๒) หลักการและวิธีการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี คือ การสื่อสารที่ไม่ใช้อารมณ์, การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น, การพูดความจริงที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น
๓) นำเสนอผลกระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขคือ สัมมาทิฐิ มีความเห็นตรงตามความเป็นจริง, การฟังอย่างแนวเดียวกันตรงกัน, การมีสติ, การเอาใจใส่ผู้อื่นด้วยสติ, และการสื่อสารด้วยสารสันติ
อีกทั้งจากผลการวิจัยยังพบว่าเมื่อผู้เข้ารับการอบรมรูปแบบการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขไปแล้วและเข้าใจวิธีการ,พร้อมนำไปฝึกใช้รวมถึงมองเห็นความสำคัญของวิธีการต่าง ๆอีกทั้งยังได้รับประโยชน์มีความเปลี่ยนแปลงที่สามารถรับรู้ได้ด้วยตัวเองจากการมีสติกับปัจจุบันทำให้เข้าใจตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น, การเข้าใจเรื่องเวลาของชีวิตทำให้ใช้ชีวิตแบบตามความจริงทำให้มีความสุขมากขึ้น, การรับฟังอย่างตั้งใจช่วยลดความขัดแย้ง, การไม่มีอคติ ๔ ทำให้ได้รับความไว้ใจจากเพื่อนร่วมงานมากขึ้น, การทำคู่มือการทำงานที่ชัดเจนทำงานได้เร็วขึ้นและลดความขัดแย้งได้, การเอาใจใส่ผู้อื่นและการมองต่างมุมทำให้ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างได้ เป็นต้น,ระดับความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมในการนำรูปแบบไปใช้ก่อนและหลังการอบรม มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นทุกข้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ , การให้ระดับความสำคัญของรูปแบบ อันแรกที่หนึ่งคือ “Clear:การสื่อสารที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ”, อันดับสองคือ “Aligned by Listening: การฟังอย่างตั้งใจ”และอันดับสามคือ “Truth and Benefits: การสื่อสารด้วยความจริงและเป็นประโยชน์” ทั้งนี้เมื่อผลลัพธ์ทำให้พนักงานมีความสุขสันติมากขึ้นก็สามารถส่งผลให้องค์กรเกิดสันติสุขโดยรวมได้เช่นกัน
องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ กระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุข โดย “SAME Peace” สันติสุขเดียวกัน โดยการใช้หลักการที่ง่ายต่อการจดจำและปฏิบัติ S - :Sammadhiti : (Right Understanding) การเห็นถูก, การมองตามความเป็นจริงทั้งผู้ส่งและรับสาร A - : Aligned By Listening: (Align yourself with other by listening) การฟังแบบเข้าหากันน้อมให้เป็นแนวเดียวกัน, ฟังแบบรอบคอบ M - : Mindfulness: การมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ ทั้งผู้ส่งและรับสาร E - : Empathy: การเอาใจใส่ผู้อื่นด้วยสติ, จะทำให้เข้าใจมากขึ้นมองในมุมที่แตกต่างได้ Peace- : Peace Messages: การสื่อสารที่สันติ, การใช้กริยาวาจาที่เหมาะสม, เป็นจริงและมีประโยชน์, ไม่มีอคติ
Download
|