บทคัดย่อ
พออยู่ พอกิน พอเพียง พอดี
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้าน และ ๓) ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงกับการปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมของปราชญ์ชาวบ้าน
ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยึดหลักพระราชดำรัสของ ร.๙ “พออยู่ พอกิน พอเพียง พอดี” วิถีชีวิตยึดหลักโอวาท ๓ คือ (๑) ไม่ทำชั่ว ปฏิบัติตามเบญจศีล กุศล ๓ เว้นอบายมุข ๖ (๒) ทำความดีโดยปฏิบัติตามหลักเบญจธรรม พละ ๔ คารวะ ๖ มีวินัย ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท (๓) จิตบริสุทธิ์ ปฏิบัติตามไตรสิกขา รักษาศีล บุญกิริยา ๑๐ ฝึกปฏิบัติทั้งสมถะวิปัสสนา
แนวคิดและวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้าน พบว่ามี มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) สัปปุริสธรรม (คุณสมบัติของคนดี) ทิฎฐิธัมมิกัตถะ (อุอากะสะ) มรรคมีองค์ ๘ ทางพ้นทุกข์หิริโอตตัปปะ อัตตาหิ อัตตโนนาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) อิทธิบาท ๔ สังคหวัตถุ ๔
วิถีชีวิตของปราชญ์ขาวบ้าน ใช้ฐานหลักพุทธธรรมในการพัฒนาบุคคลและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พอมี พอกิน พออยู่ พอใช้ พออกพอใจ พอแบ่งไว้ใช้จ่าย และประหยัด การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในปรัชญาเศรษฐิกจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้าน ได้แก่ หลักสันโดษ โภควิภาคธรรม โภคอาทิยธรรม คิหิสุข/กามโภคีสุข/สุขของคฤหัสถ์ พรหมวิหาร ๔ และฆราวาสธรรม
Download |