งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ มหาวิทยาลัยสยาม ๒) สร้างโปรแกรมจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ๓) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการลดความเครียดในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ มหาวิทยาลัยสยาม
ในการศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน
ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้คือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน ๙๘ คน คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๖๔ คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ ๓๒ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามการรับรู้ความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) แบบสองกลุ่มสัมพันธ์ (two paired samples t-test)
ผลการพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยาของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ พบว่า
๑. นักศึกษาพยาบาลของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ก่อนการทดลองเท่ากับ ๓.๐๖ หลังการทดลองเท่ากับ ๒.๔๒
๒. ผลการเปรียบเทียบความเครียดของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการอบรม
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๐
และจากการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มกับผู้เข้าอบรมจำนวน ๘ ท่าน ภายหลังการเข้าโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่าในการลดความเครียดขณะฝึกปฏิบัตินักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้ การหายใจ การเจริญสติ การให้การปรึกษาแบบกลุ่มเชิงพุทธทำให้เข้าใจตนเองและบุคคลอื่นมากขึ้น ทำให้สามารถจัดการกับความเครียดได้
Download
|