หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิสูตร จิตสุทธิภากร
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
รูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : วิสูตร จิตสุทธิภากร ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประเทือง ภูมิภัทราคม
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์๒) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์๓) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์

การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑การศึกษาศึกษาสภาพการจัดการความรู้สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๙ คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ ๒การสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๐ รูป/คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม เครื่งมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ ๓การประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้จัดการโรงสีข้าวชุมชนและคณะบริหารโรงสีข้าวชุมชน
จำนวน ๓๐ คนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินรูปแบบที่ถามความเหมาะสมใน ๔ ด้าน คือ โดยประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผลการศึกษาสภาพการจัดการความรู้สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์พบว่าโรงสีข้าวชุมชนที่ไม่สามารถบริการสีข้าวให้แก่ชุมชนได้นั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะขาดความรู้ด้านการจัดการโรงสีข้าว ไม่มีความรู้ด้านการตรวจสอบสายพันธุ์ข้าวเปลือก ไม่มีความรู้ด้านการจัดการกระบวนการสีข้าวให้มีประสิทธิภาพดี ไม่มีความรู้เรื่องต้นทุนการผลิตความรู้เรื่องการตลาดความรู้ด้านการให้บริการและยังขาดเครื่องมือที่สำคัญในการสีข้าวเช่นเครื่องคัดแยกกรวดออกจากข้าวสารและแม่เหล็กถาวรสำหรับเก็บเศษเหล็กและผงเหล็กออกจากข้าวสารเป็นต้น

 

๒. การสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สำหรับโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ผู้วิจัยได้นำหลักทุติยปาปณิกสูตร  ได้แก่ ๑.จักขุมา (Conceptual Skill)
๒.วิธูโร(
Technical Skill) ๓.นิสสยสัมปันโน(Human Relation Skill)มาบูรณาการเข้ากับกระบวนการจัดการความรู้(KM Process) มี ๗ ขั้นตอน  คือ ๑.การระบุความรู้ (Knowledge Identification)๒. การสร้างและแสวงหาความรู้(Creation and Acquisition)๓.การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ(Knowledge Organization) ๔.การประมวลความรู้และกลั่นกรองความรู้(Knowledge Codification and Refinement) ๕.การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) ๖. การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้(Knowledge Sharing ) และ ๗. การเรียนรู้(Learning)เพื่อสร้างเป็นรูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักทุติยปาปณิสูตร สำหรับโรงสีข้าวชุมชนได้นำไปใช้ในการจัดการโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ให้ประสบความสำเร็จ

๓. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สำหรับการบริหารโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ทั้ง ๔ ด้าน ทั้ง ๗ รูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Download 

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕