การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ (๒) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท ๔ สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ (๓) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท ๔ สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๙ คน และผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบ และผู้เชี่ยวชาญงานราชทัณฑ์ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินรูปแบบ จำนวน ๓๐ คน
การวิจัยนี้แบงเป็น ๓ ขั้น คือ ขั้นตอนที่ ๑. ศึกษาสภาพการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๙ คน ใชแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและใชการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ ๒. สร้างรูปแบบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท ๔ สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ ผู้ใหข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน โดยจัดสนทนากลุม เครื่องมือแบบบันทึกการสนทนาและวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ ๓. แบบประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท ๔ สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ จากผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บัญชาการผู้อำนวยการส่วน หัวหน้าฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ รวมจำนวน ๓๐ คน เครื่องมือแบบประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ สถิติใช้คาความถี่และค่าร้อยละ
ผลการการศึกษารูปแบบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท ๔ สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ พบวา ๑. สภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ ขาดผู้ชำนาญในการบริหารการศึกษากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เนื่องด้วยเป็นสถานที่พิเศษ มีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนโรงเรียนปกติ ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนเหมือนหลักสูตรทั่วไป บุคลากรทางการศึกษามีคุณสมบัติไม่ได้ตามเกณฑ์ของหลักสูตร การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนยังน้อย ขาดมาตรฐานและการเชื่อมโยงด้านวิชาการ งบประมาณไม่พอ ทำให้ขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน รวมถึงห้องเรียนที่เหมาะสมเจ้าหน้าที่ขาดความรู้ระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติงานการติดตามงานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน มุ่งปฏิบัติราชการตามคำสั่งศาลเป็นหลัก บุคลากรด้านการศึกษาของเรือนจำขาดการสอนให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น และประยุกต์เป็น การกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ยังเป็นปัญหาต่อการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่สามารถวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าทุนและผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานและขาดการบริหารงานทั่วไปที่เหมาะสมด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒. รูปแบบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท ๔ สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ ประกอบด้วยงานวิชาการ งานงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ตามหลักอิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา บูรณาการให้งานบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง ๔ ด้านบรรลุความสำเร็จ ๓. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท ๔ สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ งานบริหารทั้ง ๔ ด้าน ทั้ง ๔ รูปแบบ ในภาพรวมนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกวิธีการบริหารย่อย
องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ “ABPGSDAC = MODEL” ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาขึ้นพื้นฐานสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเขต ๖ ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาในเรือนจำ ได้รูปแบบพัฒนาการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนการศึกษาขึ้นพื้นฐานให้กับผู้ต้องในเรือนจำทั่วประเทศ
Download
|