การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารโครงการไทยนิยม ยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ตามความคิดเห็นของประชาชน ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบล
วังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโครงการกับการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ อำเภอ
สามเงา จังหวัดตากและ ๔. เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารโครงการไทยนิยม ยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๔๖ สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่ตำบลวังจันทร์ จำนวน ๓๖๑ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สันและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับการบริหารโครงการไทยนิยม ยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยภาพรวมมาก ( = ๓.๕๑, S.D. = ๐.๖๒๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านรู้กลไกบริหารราชการ ( = ๓.๕๙, S.D. = ๐.๖๘๓) ด้านรู้สิทธิรู้หน้าที่ ( = ๓.๕๗, S.D. = ๐.๗๑๙) ด้านรู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม ( = ๓.๕๖, S.D. = .๖๘๕) ด้านความสามัคคี ( = ๓.๕๓, S.D. = ๐.๗๗๓) ด้านชุมชนอยู่ดีมีสุข ( = ๓.๕๒ S.D. = ๐.๗๓๖) ด้านร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด ( = ๓.๔๙, S.D. = ๐.๘๑๓) ด้านงานตามภารกิจส่วนราชการ ( = ๓.๔๘, S.D. = ๐.๗๖๖) ด้านคนไทยไม่ทิ้งกัน ( = ๓.๔๗, S.D. = ๐.๗๘๐) ด้านรู้เท่าทันเทคโนโลยี ( = ๓.๔๔, S.D. = ๐.๗๑๐) ด้านวิถีไทยวิถีพอเพียง ( = ๓.๔๒, S.D. = ๐.๗๑๐)
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารโครงการไทยนิยม ยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคลพบว่า ประชาชนที่มีการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศและอายุต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโครงการกับการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก พบว่าการบริหารโครงการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (R=๐.๘๖๗**)
๔. แนวทางการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ควรมีแผนการลงพื้นที่ เพื่อศึกษาปัญหาของแต่ละชุมชนโดยจัดทำเป็นแผนงานและโครงการที่ตรงกับความต้องการของประชาชน โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างงาน การสร้างอาชีพ การสร้างรายได้ให้กับประชาชนและ ประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในการรับรู้ในเรื่องต่างๆ ที่มีความสำคัญ
Download
|