ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ ดังนี้คือ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงพุทธในพุทธศาสนสถาน ๒. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับนโยบายยุทธศาสตร์ปัญหาและอุปสรรคการท่องเที่ยวในประเทศไทยกับสาธาณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๓. เพื่อเสนอแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธระหว่างประเทศไทยกับสาธาณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ ในการแสดงความคิดเห็นพบว่า ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในอาเซียนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ นั้นประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ๔ ด้านคือ ๑. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านการพัฒนาการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจ ๒. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านพัฒนาจิตใจ และคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในหลักธรรมเรื่อง ศีล สมาธิ และปัญญา ๓. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านการบริหารจัดการและสิ่งแวดล้อม ๔. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
สรุปผลการวิจัย ยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในอาเซียน ระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า ผลจากการวิจัยโดยการสัมภาษณ์ในการแสดงความคิดเห็นต่างๆและ Focus group ได้มิติ ๔ ด้านคือ ๑ด้านศาสนสถาน ศาสนาวัตถุ ศาสนสถาน คือสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาสนวัตถุ คือวัตถุมงคลในพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูป พระไตรปิฎก ตำราทางพุทธศาสนา ๒ ด้านศาสนธรรม ธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธพจน์ เนติปกรณ์ ๓. ด้านศาสนบุคคลคือ พระสงฆ์ สามเณร และแม่ชี ๔.ด้านศาสนพิธี คือด้าน วัฒนธรรมประเพณีพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ไว้อย่างยั่งยืน เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยยุทธศาสตร์ทางการบริหารจัดการมาเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว วัดวาอาราม เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยผู้วิจัยนำเสนอรูปแบบที่ได้จากการวิจัยคือ BLANCE TOURISOM MODEL = BSHMEMS
Download
|