หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ทักษิณ ประชามอญ
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ทักษิณ ประชามอญ ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ ๑.เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปและสภาพปัญหาของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ๓.เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

         ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน ๒๖ รูป/คน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๙ กับกลุ่มตัวอย่างคือประชาชน จำนวน ๔๐๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่า

         ๑. สภาพทั่วไปและสภาพปัญหาของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า ประชาชนและบุคลากรภาครัฐยังขาดการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดและความสำคัญของการมีส่วนร่วม อีกทั้งเครื่องมือในกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ รวมถึงการเข้าถึงและการรับข้อมูลข่าวสารระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับประชาชนด้วย จึงทำให้เกิดปัญหาในกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับประชาชน

         ๒. การประยุกต์หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ควรนำหลักพุทธธรรม ได้แก่ หลักอปริหานิยธรรมไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทั้งในด้านการตัดสินใจ ด้านปฏิบัติการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล สามารถนำไปสู่การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดความเข้มแข็ง จนกระทั้งบุคลากรภาครัฐและประชาชนเกิดทักษะในการใช้เครื่องมือสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงดำเนินการให้ครบกระบวนการเท่านั้น แต่ต้องดำเนินการให้ถึงสาระสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

         ๓. รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบว่า การนำรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรม คือ การนำหลักอปริหานิยธรรม ๗ มาบูรณาการกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติการ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผล สามารถพัฒนาบุคลากรภาครัฐและประชาชนให้เกิดทักษะและเห็นความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วม โดยยึดนโยบายการจัดประชุมกันเนืองนิตย์ การทำงานเป็นทีม การปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กร การให้ความเคารพตามหลักอาวุโส การส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของสตรีและผู้อื่น การสร้างความผูกพันต่อองค์กร และการดูแลและจัดสวัสดิการ เพื่อให้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางปฏิบัติต่อไปอย่างยั่งยืน

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕