หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิทยา วชิรญาโณ (น้อยศรี)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิทยา วชิรญาโณ (น้อยศรี) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระอุดมสิทธินายก
  ประเสริฐ ธิลาว
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ๒. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

การวิจัยเป็นแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative  Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๔๗ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่เป็นนักเรียน จำนวน ๒๘๙ คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนการเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test)  การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One way Analysis of Variance) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (Indepth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๘ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

. การบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๖, S.D. =๐.๔๘) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้ง ๔ ด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผน
(
 = ๔.๐๖, S.D. = ๐.๓๖) ด้านการตรวจสอบ (  = ๔.๐๖, S.D. = ๐.๓๕) ด้านการปรับปรุงแก้ไข
(
 = ๔.๐๓, S.D. = ๐.๓๘) ด้านการปฏิบัติ ( = ๔.๐๒, S.D. = ๐.๓๖)

. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ภาพรวม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ วุฒิการศึกษาธรรมศึกษา วุฒิการศึกษาสามัญ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

๓.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ได้แก่ ๑) ด้านการวางแผน ขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา ทั้งไม่สามารถกำหนดโครงสร้าง หลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ๒) ด้านการปฏิบัติ ไม่สามารถปฏิบัติตาม ขอบข่าย รูปแบบ รายวิชาในวิชาพระพุทธศาสนา ในสถานศึกษาได้ ๓) ด้านการตรวจสอบ สถานศึกษา ไม่ได้ให้ระเบียบการวัดผลประเมินผลขอสถานศึกษาแก่พระสอนศีลธรรม ทั้งไม่มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลตามสภาพจริง  ๔) ด้านการปรับปรุงแก้ไข พระสอนศีลธรรม ไม่ได้มีส่วนรวมในการพัฒนา แนวทางการบริหารในสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนา รายวิชา ในการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาได้

ข้อเสนอแนะได้แก่ ๑) ด้านการวางแผน ต้องมีการวางแผนการทำงานให้พระสอนศีลธรรมอย่างเป็นระบบระเบียบ และต้องมีนโยบายในการหาพระที่มีความรู้ความสามารถเข้ามา ปฏิบัติงานเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ที่สุด ๒) ด้านการปฏิบัติ ควรศึกษารูปแบบ ขอบข่ายรายวิชา เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามการสอนหลักสูตรในการสอนได้ก่อนลงมือปฏิบัติ ๓) ด้านการตรวจสอบ สถานศึกษาควรมีเจ้าหน้าที่วัดผลประเมินผลที่ชำนาญให้แก่พระสอนศีลธรรม และมีการ ประเมินผลอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ทราบถึง ความสำคัญของการเรียนว่าควรมีมากน้อย ๔) ด้านการปรับปรุงแก้ไข ผู้บริหารควรจัดให้พระสอนศีลธรรมได้มีส่วนรวมในการพัฒนา แนวทางการบริหารในสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนา รายวิชา ในการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนามากขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕