หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสง่า จนฺทวณฺโณ (เปลี่ยนกลาง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
การบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระสง่า จนฺทวณฺโณ (เปลี่ยนกลาง) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ
  พระอุดมสิทธินายก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ . ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา . ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  . ปัญหา อุปสรรค และแนวทางปรับปรุงการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในพื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓๙๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๗๕๖ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๐ รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องกับการบริหาร เครื่องมือเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้ง ๓ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก             ( = .๐๔  S.D.= .๒๔๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านอาคารสถานที่ ( =.๐๗  S.D.= .๓๖๓) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ( = .๐๗ S.D.= .๓๕๙ด้านการบริหารจัดการ ( = .๙๘ S.D.= .๓๕๒) ตามลำดับ

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าประชาชนที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

๓. ปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านการบริหารมีการประชุมอยู่ตลอดแต่ปัญหาในแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา เพราะชุมชนต้องมีคณะกรรมการและต้องมีการเสนอเพื่อขออนุมัติต่อไป ด้านกิจกรรมมีการจัดกิจกรรมอยู่แต่มีน้อยไปควรจะมีให้หลากหลายชนิดเพื่อให้ประชาชนมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ด้านอาคารอาคารสถานที่ยังมีอยู่น้อยและต้องของบประมาณดำเนินการปรับปรุง ข้อเสนอแนะ ด้านการบริหารผู้บริหารควรทำงานให้เร็วและทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ ด้านกิจกรรมควรจะมีการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้าร่วมเพื่อเสนอแนวคิดใหม่ๆให้มากขึ้น ด้านอาคารควรมีสถานที่ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรม

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕