การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของกลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อศึกษากระบวนการของกลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ๓) เพื่อนำเสนอการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ คณะสงฆ์และประชาชนที่เข้าร่วมปฏิบัติการในโครงการหมู่บ้านศีล ๕ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านศีล ๕ จำนวน ๔๐๐ คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้ ๑ . ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อกำหนดตัวชี้วัด คือระดับบุคคล องค์กร และชุมชนของการรักษาศีล ๕ ในโครงการหมู่บ้านศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๓๗ รูป/คน และ ๒. ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเฉพาะ เพื่อการระดมสมอง ยืนยัน และประเมินคุณภาพตัวชี้วัดในระดับบุคคล องค์กร และชุมชนของการรักษาศีล ๕ ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย พระเถระผู้ใหญ่ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กร จำนวน ๑๒ รูป/คน ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร
ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะจากการสนทนากลุ่มเฉพาะ มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ก่อนที่จะมีการประมวลผลและสร้างรูปแบบต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพทั่วไปของกลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า กลไกและกระบวนการการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ในแต่ละด้านมีการบริหารด้านผู้ปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = ๓.๙๑) ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านกระบวนการจัดการบริหารควบคุม มีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๖๖) อยู่ในระดับมาก และการบริหารด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = ๓.๓๐) อยู่ในระดับปานกลาง
๒. กระบวนการของกลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีลักษณะการบริหารจัดการแบบแยกกันทำงาน เผยแผ่อุดมการณ์หลักการทางพระพุทธศาสนาแก่ศาสนิกนับถือด้วยการสร้างความเข้าใจ มีการสร้างกลุ่มเครือข่าย สร้างความเข้าใจ ให้เห็นความสำคัญของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยทำบันทึกข้อตกลงต่อหน่วยงานส่วนราชการท้องถิ่น ให้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรม โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
๓. การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่
พบว่าในหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันในระบบ หรือองค์กรเพื่อให้งานสำเร็จไปด้วยดี ระบบ หรือองค์กรที่มีบุคคลในระดับต่าง ๆ ทำงานประสานกันดุจเครื่องจักร ระบบใด ๆ ที่จะช่วยให้งานสำเร็จลุล่วงไป โดยที่บุคคล กลุ่มคน และชุมชน นำหลักการในพระพุทธศาสนาแสดงให้เห็นแนวคิดที่มาของศีลกับการอยู่ร่วมกันในสังคมทำให้เกิดความสงบสุขของสังคมชุมชนและเป็นการพัฒนาตนเองตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งศีล ๕ เป็นหนทางแห่งการเกิดสันติภาพ
Download |