ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขอนามัยของพระสังฆาธิการในเขตปกครองกรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมการส่งเสริมสุขอนามัยเชิงพุทธของพระสังฆาธิการในเขตปกครองกรุงเทพมหานคร และ ๓) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขอนามัยของพระสังฆาธิการในเขตปกครองกรุงเทพมหานครที่บูรณาการด้วยหลักพุทธธรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Reseach)
งานวิจัยนี้พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีสุขภาวะโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง (= ๓.๒๐, S.D.=๐.๙๕) ประเด็นสุขภาวะที่มีปัญหามากที่สุดคือสุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม (= ๓.๑๕, S.D.=๐.๕๖) และสุขภาวะด้านร่างกาย (= ๓.๓๖, S.D.=๐.๓๘) ส่วนสุขอนามัยด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (= ๓.๗๑, S.D.=๐.๕๖) และสุขอนามัยด้านสัมพันธภาพทางสังคม ( = ๓.๖๗, S.D.=๐.๕๕) ก็มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเช่นกันเดียวกัน
การส่งเสริมสุขอนามัยเชิงพุทธของพระสังฆาธิการในเขตปกครองกรุงเทพมหานคร คือ การนำเอาหลักธรรมซึ่งประกอบด้วย ภาวนา ๔ อิทธิบาท ๔ อายุสสธรรม ๕ และการดูแลสุขภาวะองค์รวมขององค์การอนามัยโลก
การส่งเสริมสุขอนามัยเชิงพุทธของพระสังฆาธิการในเขตปกครองกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (S) การมีเป้าหมายในการส่งเสริมสุขอนามัย (o) การสร้างโอกาสในการส่งเสริมสุขอนามัย (m) การบริหารจัดการการส่งเสริมสุขอนามัย (c) การทำให้การส่งเสริมสุขอนามัยสมบูรณ์ด้วย BĀWI (h) การส่งเสริมสุขอนามัยให้มีความสุข (a) การตระหนักรู้ด้วยสติปัญญาในการส่งเสริมสุขอนามัย (t) การฝึกปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมสุขอนามัย
Download |