ดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดพระพุทธบาท วัดศาลาแดง และวัดพระพุทธฉาย มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา (๓) เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดพระพุทธบาท วัดศาลาแดง และวัดพระพุทธฉาย จังหวัดสระบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาจากเอกสาร (Documentary) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–Depth Interview)
ผลการศึกษาพบว่า ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา เกิดจากศรัทธาของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้สร้างถาวรวัตถุ ด้วยศิลปะไทยจนกลายเป็นพุทธศิลปกรรมไทยที่มีความวิจิตรงดงามตระการตาจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับการทองเที่ยวทางพระพุทธศาสนา เป็นการเดินทางไปทองเที่ยวยังศาสนสถาน รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา เพื่อเยี่ยมชมหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นมัสการศาสนสถาน และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อบำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ ๑๐ และปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิและการทําวิปสสนากรรมฐาน เพื่อผอนคลายและลดความตึงเครียดในชีวิตประจําวัน เพื่อเขารวมศาสนพิธี งานเทศกาลประเพณีตาง ๆ จังหวัดสระบุรี มีวัดพระพุทธบาท วัดพระพุทธฉาย และ วัดศาลาแดง ที่จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในลักษณะนี้ได้
การจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาที่วัดพระพุทธบาท วัดพระพุทธฉาย และวัดศาลาแดง จังหวัดสระบุรี เกิดขึ้นเพราะ (๑) ความเชื่อเรื่องรอยพระพุทธบาท พระพุทธฉาย และ พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (๒) ศรัทธาในรอยพระพุทธบาท พระพุทธฉาย และ พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (๓) ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญบุญ (๔) ศึกษาประวัติรอยพระพุทธบาท ตำนานพระพุทธฉาย ศึกษาประวัติความเป็นมาของการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (๕) ชื่นชมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน (๖) สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณี (๗) นักท่องเที่ยวต้องการใช้เวลาท่องเที่ยวกับครอบครัว
การจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดสระบุรี เป็นกระบวนการจัดการ ๔ ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน ด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ด้านการบริการนักท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการทั่วไป การจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดสระบุรีทั้ง ๓ แห่ง เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและวัด ในด้านการบริหารจัดการที่ดี มีการบริการและมีสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวตามความเหมาะสม มีการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ อย่างแพร่หลาย การประชาสัมพันธ์พิจารณาถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเพื่อให้สามารถออกแบบกิจกรรมได้ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาได้สร้างวิถีชุมชนให้มีความมั่นคงและเข้มแข็งทั้งการเมือง การปกครองท้องถิ่น เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การศึกษาศิลปวัฒนธรรม จนสามารถหล่อหลอมจิตใจชาวพุทธให้เป็นอันเดียวกันได้ เพราะความเชื่อและความศรัทธา อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้เป็นศูนย์กลางการศึกษา และการปฏิบัติธรรมเพื่อการเข้าถึงพระรัตนตรัยของพุทธศาสนิกชนได้เป็นอย่างดี
Download |