หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโกวิทศาสนกิจ (อัมพร ฉนฺทกโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๓ ครั้ง
แนวทางการพัฒนาบุคลากรตามหลักศีล ๕ สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโกวิทศาสนกิจ (อัมพร ฉนฺทกโร) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๒/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาบุคลลากรตามหลักศีล ๕ สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยเริ่มศึกษาถึงสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาบุคลากรตามหลักศีล ๕ ของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตบางกอกน้อย โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและรับทราบข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกับการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนจากผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๓๓๘ คน วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ความคิดเห็น และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  โดยเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองจำแนกตาม เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้  ด้วยค่าสถิติ t-test ความแปรปรวนทางเดียว one-way ANOVA  จากนั้นทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรตามหลักศีล๕ สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา

              ผลการวิจัย

              ๑. สภาพการพัฒนาบุคลากรตามหลักศีล ๕ ของโรงเรียนประถมศึกษาเขตบางกอกน้อย ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน มีการดำเนินการในภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก

              ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า  เพศ อายุ ระดับการศึกษา  อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกัน มีผลทำให้ความคิดเห็นของผู้ปกครองมีความแตกต่างกัน  ในทุกด้าน

              ๓. แนวทางการพัฒนาบุคลากรตามหลักศีล๕ สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางกอกน้อย พบว่า  การรณรงค์เรื่องห้ามฆ่าสัตว์ ต้องรวมถึงการไม่เบียดเบียนและไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น ได้รับทุกข์ด้วย  การรณรงค์เรื่องห้ามลักขโมย  ต้องรวมไปถึงการยักยอกเงินหรือการกินนอกกินใน ในองค์กร การขโมยความคิด หรือสิทธิทางปัญญา  สิทธิทางวิชาการของคนอื่น เรื่องการผิดศีลข้อ กาเมสุมิจฉาจาร  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อความซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของตนและการละเมิดสิทธิของผู้อื่น อันเป็นสาเหตุของการทะเลาะเบาะแว้งในที่ทำงาน เป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากบุคลากรในโรงเรียน ต้องทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ จึงต้องระมัดระวังมากขึ้น สำหรับเรื่องการไม่พูดปด ต้องรวมถึงการไม่กล่าวนินทาว่าร้าย ส่อเสียด ยุยงให้คนเกิดความแตกแยกกันด้วย  สำหรับการรณรงค์ไม่ดื่มสุรา เสพของมึนเมา เป็นเหตุให้ครองสติไม่ได้ต้องรวมไปถึงการเสพติด ของต้องห้ามต่าง ๆ อีกด้วย.

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕