งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อคือ ๑) เพื่อศึกษามรณสติ ในพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษามรณสติตามแนวกรรมฐานเถรวาท ๓) เพื่อศึกษามรณสติเพื่อการพัฒนาชีวิต และเพื่อวิเคราะห์การเผชิญความตายอย่างสงบตามหลักมรณสติใน พระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลของการวิจัยพบว่า มรณสติในพระพุทธศาสนา หมายถึง ความตาย ก็คือ ความดับหรืออาการดับของขันธ์ ๕ หรือกายกับจิต ประเภทของการตายมี ๒ คือ กาลมรณะ การตายเมื่อถึงเวลาถึงที่ตาย และอกาลมรณะ มรณสติ คือ การเอาสติหมั่นระลึกถึง ความตายอันจะเกิดมาถึงตนและพิจารณาสาเหตุของความตาย เพื่อเป็นอุบายที่จะทำให้จิตใจเกิด ความสงบเป็นสมาธิ จิตใจพิจารณาเห็นความจริงจนเกิดสลดใจเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายอัน เป็นเหตุทำให้จิตใจคลายออกจากความไม่หลงติดในร่างกายคลายออกจากกิเลส และปลดทุกข์ทางจิตใจได้ ปล่อยวางได้
มรณานุสติตามแนวกรรมฐานพบว่า การพิจารณามรณสติเป็นวิธีพิจารณาให้เห็นความจริงในชีวิตทั้ง ๕ ประการนี้ คือ ความ แก่ ความเจ็บ ความชรา ความตายความพลัดพราก และมีกรรมเป็นเครื่องกำหนดชีวิตของคน และ สัตว์ ย่อมมีกับทุกชีวิต การปฏิบัติมรณสติเป็นประโยชน์ในการพัฒนาจิตใจ คือการไม่หลงตาย
มรณสติเพื่อการพัฒนาชีวิตพบว่า คือการเผชิญความตายตามหลักมรณสตินั้นถือว่าได้เตรียมตัวก่อนตาย คือ เอาสติน้อมระลึกถึงความตาย อันมีแก่ตนและคนอื่น ให้ตั้งมั่นอยู่กับคุณความดี ให้ดำรงชีวิตด้วยสติปัญญา ซึ่งเป็นจิตใจที่มีพลัง ดับความเร่าร้อนหวาดกลัวนานาประการได้ จิตใจที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส เป็นจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์หลุดพ้น มีสติรู้เท่าทัน ไม่หวาดหวั่นต่อความตาย ทำให้มีความสุขในชีวิตประจำวันได้
Download |