หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระทองเจริญ อุปสนฺโต (โคตรดินขาว)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๗ ครั้ง
โปรแกรมการพัฒนาจิตสำนึกและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตามหลักภาวนา ๔ ด้วยนิเวศวิทยาเชิงพุทธของประชาชนตำบลคลองหก อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สาขาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระทองเจริญ อุปสนฺโต (โคตรดินขาว) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อุบลวรรณา ภวกานันท์
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อการสร้างโปรแกรมการพัฒนาจิตสำนึกและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตามหลักภาวนา ๔ ด้วยนิเวศวิทยาเชิงพุทธในประชาชนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อการทดลองโปรแกรมการพัฒนาจิตสำนึกและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตามหลักภาวนา ๔ ด้วยนิเวศวิทยาเชิงพุทธในประชาชนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ๓) เพื่อนำเสนอโปรแกรมการพัฒนาจิตสำนึกและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตามหลักภาวนา๔ ด้วยนิเวศวิทยาเชิงพุทธในประชาชนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างโปรแกรมโดยศึกษาจากการประชุมสนทนากลุ่มเฉพาะ กับกลุ่มพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญในการเทศน์ในตำบลคลองหก จำนวน ๑๒ รูป สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศวิทยาเชิงพุทธทียินยอมเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน ๖๐ คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ๓๐ คน กลุ่มควบคุม ๓๐ คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแปลค่าด้วยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา

               ผลการศึกษาวิจัย

               ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าการสร้างโปรแกรมการพัฒนาจิตสำนึกและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตามหลักภาวนา ๔ ด้วยนิเวศวิทยาเชิงพุทธนั้น มี ๘ ขั้นตอนคือ
๑) หลักการของโปรแกรม ๒) เป้าหมายของโปรแกรม ๓) จุดมุ่งหมายของโปรแกรม ๔) เนื้อหาสาระของโปรแกรม ๕) ระยะเวลาที่ใช้ของโปรแกรม ๖) การเลือกผู้ทำหน้าที่แสดงธรรม ๗) สื่อและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ๘) การประเมินผลโปรแกรมเครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบการประชุมสนทนากลุ่ม (
focus group) เพื่อสร้างโปรแกรม คือ สงฆ์ผู้เชี่ยวชาญในการเทศน์ในตำบลคลองหก เข้าร่วมประชุมจำนวน ๑๒ รูป เชิงปริมาณ เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ยอมเข้าร่วมทดลองโปรแกรม เลือกแบบบังเอิญจาก ๖๐รูป/คน แบ่งกลุ่มทดลอง ๓๐ รูป/คน และกลุ่มควบคุม ๓๐ รูป/คน เก็บข้อมูลจากวัด ก่อน หลัง และวัดเมื่อผ่าน ๑ เดือน อีกครั้ง ด้วยแบบสอบถามประเมินความรู้ด้านภาวนา ๔  จิตสำนึกในการจัดการขยะและพฤติกรรมในการจัดการขยะ วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                                                                                                       ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า(๑) กลุ่มทดลองหลังเข้าอบรมโปรแกรม มีคะแนนความรู้ด้านภาวนา ๔ จิตสำนึกในการจัดการขยะและพฤติกรรมในการจัดการขยะมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๒) กลุ่มทดลองหลังเข้าอบรมโปรแกรมแล้ว มีคะแนนมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๓) กลุ่มทดลองวัดหลังการอบรม ๑ เดือนมีคะแนนความรู้ด้านภาวนา ๔ จิตสำนึกในการจัดการขยะและพฤติกรรมในการจัดการขยะมากกว่าก่อนและหลังทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕                                                

               ผลการเสนอโปรแกรม พบว่าจากการทดลองโปรแกรมการพัฒนาจิตสำนึกและพฤติกรรมในการจัดการขยะได้ ๖ ด้าน ๑) ด้านโปรแกรมเป็นโปรแกรมที่ดี  ทั้งการเทศน์ ส่วนเนื้อหาต้องมีการเพิ่มเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ๒) ด้านบุคลากรควรมีวิทยากรผู้ช่วย ๓) ด้านคำสอน ของภาวนา ๔ ควรมีการปฏิบัติตามให้ครบทั้ง ๔ ด้าน ๔) ด้านสื่ออุปกรณ์ควรมีภาพ คำสุภาษิตที่สื่อสารเข้าใจง่าย ๕) ด้านวิธีการบรรยายควรมีการบรรยายจากสิ่งใกล้ตัว ๖) ด้านระยะเวลา ควรเพิ่มจำนวนครั้งในการบรรยายตามเนื้อหาให้ชัดเจนขึ้น  

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕