หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพัชรกิตติโสภณ (วิเชียร กิตฺติคุโณ)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๘ ครั้ง
แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพัชรกิตติโสภณ (วิเชียร กิตฺติคุโณ) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประพันธ์ ศุภษร
  ตวงเพชร สมศรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการอนุรักษ์ป่าไม้ตามศาสตร์พระราชาและสภาพปัญหาป่าชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอบ้านกรวดและอำเภอประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้ และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิง
พุทธบูรณาการ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า

แนวคิดการอนุรักษ์ป่าไม้ตามศาสตร์พระราชาและสภาพปัญหาป่าชุมชนในเขตอำเภอบ้านกรวด อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีการนำศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับอนุรักษ์ป่าไม้ การบริหารจัดการน้ำมาเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ป่า สภาพปัญหามีการบุกรุกเพื่อที่ทำกินการหาของป่าและทำไม้เพื่อการค้าซึ่งมีการประนีประนอมอยู่บนพื้นฐานข้อตกลงของคณะกรรมการชุมชน

หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้ ได้แก่ ไตรสิกขา ศีล ๕ และหิริโอตตัปปะโดย ไตรสิกขา เป็นหลักการเชิงโครงสร้างให้มีการวางกฎกติกา วางแผนและมีปัญญากำกับให้ชุมชนปฏิบัติตามอย่างพอเหมาะ ศีล ๕ เป็นหลักประกันชุมชนด้านชีวิต ทรัพย์สินและความซื่อสัตย์ต่อกันวางกรอบ ข้อตกลงร่วมกันไม่ให้เกิดปัญหาในการบุกรุกป่าและสร้างจิตสำนึกด้วยหิริโอตตัปปะ ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามของชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของชุมชนในการใช้ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกัน

แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ มี ๓ แนวทาง ดังนี้ (๑) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักไตรสิกขา โดยการนำศีล มาเป็นกรอบวางกฎระเบียบเพื่อให้ชุมชนได้ปฏิบัติอย่างพอเหมาะ นำสมาธิมาเสริมความมุ่งมั่น จดจ่อในการแก้ปัญหาและรักษาสภาพของป่าชุมชน นำปัญญามาเป็นหลักการคิดหาเหตุและสรุปผลของการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม (๒) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักศีล ๕ โดยการวางกฎข้อตกลงของชุมชนไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักของป่า วางกฎกติกาในการใช้ป่าร่วมกันรักษาดูแลป่า ประสานแนวคิดจากหลักพุทธธรรมกับวิถีชุมชน ไม่กล่าวเท็จ ไม่รับจ้างตัดไม้ ไม่ตัดไม้มาหมักดองและหมั่นตรวจตราดูแลรักษาป่าชุมชน ปลูกป่าทดแทนเพื่อความยั่งยืนและ (๓) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักหิริโอตตัปปะ ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ด้านความละอาย การห้ามจิตไม่ฝ่าฝืน ไม่ทำลายและละเว้นการกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าอย่างยั่งยืน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕