หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์สุรศักดิ์ สุรสกฺโก (ดำชุม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์การทำเคราะห์บ้านของชุมชนลุ่มคลองนางน้อย จังหวัดตรัง
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์สุรศักดิ์ สุรสกฺโก (ดำชุม) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกศลอรรถกิจ
  อุทัย เอกสะพัง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการทำเคราะห์บ้านที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาเรื่องการทำเคราะห์บ้านของชุมชนลุ่มคลอง     นางน้อย จังหวัดตรังและ ๓) เพื่อวิเคราะห์การทำเคราะห์บ้านของชุมชนลุ่มคลองนางน้อยจังหวัดตรังตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพลงการลงภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำบทสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ประกอบวิทยานิพนธ์ให้สมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า

๑) การทำเคราะห์บ้านมีอิทธิพลต่อแนวคิด วิถีชีวิตของบุคคลในชุมชนที่เชื่อว่า เป็นสิ่งที่สำแดงเหตุก่อนจะมีผลตามมาภายหลังโดยมิได้คาดหมาย มักมีความหมายไปในทางร้ายเรียกว่า “เคราะห์” เป็นความเชื่อส่วนบุคคลของชุมชนลุ่มคลองนางน้อย การทำเคราะห์บ้าน จึงเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งในรูปแบบเซ่นไหว้ บวงสรวง อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์

๒) ชุมชนลุ่มคลองนางน้อย มีความเชื่ออำนาจเหนือธรรมชาติที่ก่อให้เกิดทั้งคุณและโทษ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากศาสนาพราหมณ์ที่ถ่ายทอดมายังหมู่ผู้นับถือศาสนาพุทธ มีส่วนที่เหมือนหรือแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่ผู้ทำพิธีได้รับการถ่ายทอดมา ดังนั้นบทบาทการทำเคราะห์บ้านจึงปรากฎออกมาในรูปของพิธีกรรม เพราะเชื่อว่าบุคคลผู้อยู่อาศัยเกิดความเป็นสิริมงคล ขับไล่สิ่งไม่ดีต่าง ๆ ที่จะมารบกวน ส่งเสริมให้ประสบความสุข เจริญรุ่งเรืองแก่บุคคลผู้อาศัยเมื่อได้กระทำแล้ว

๓) ส่วนทัศนะทางพระพุทธศาสนากับการประกอบพิธีกรรมการทำเคราะห์บ้านมีความแตกต่างกัน นั่นคือ หลักพระพุทธศาสนาสอนให้พิจารณาด้วยเหตุผลทางปัญญา ส่วนการทำเคราะห์บ้านของชุมชนลุ่มคลองนางน้อยมุ่งโดยตรงเพื่อความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองของบุคคลผู้อยู่อาศัย แต่ทั้งนี้ พระพุทธศาสนาก็มีความสัมพันธ์ส่วนหนึ่งกับการทำเคราะห์บ้าน คือ มุ่งเน้นให้ยึดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก การที่จะเข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้นั้น จะต้องอาศัยผ่านพิธีกรรมเป็นสื่อให้ผู้สอน ผู้ปฏิบัติมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เป็นกุศโลบายที่แฝงไปด้วยหลักธรรม โน้มน้าวให้บุคคลปฏิบัติตามหลักธรรมคือ การอาศัยผ่านพิธีกรรมเป็นตัวเชื่อมการทำเคราะห์บ้านเป็นสื่อเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕