หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จิรัฐติกาล ศิลปสุวรรณ
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
พุทธจิตสังคมบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต : กรณีศึกษาผู้ป่วยสุขภาพจิต ที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้วิจัย : จิรัฐติกาล ศิลปสุวรรณ ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกศลศาสนบัณฑิต (กฤษณะ ตรุโณ)
  พระราชปริยัติมุนี
  บุญเลิศ โอฐสู
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๒ ข้อดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิต (๒) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพุทธจิตสังคมบำบัดสำหรับ ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต ที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีคือใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ดังนี้คือ (๑)การศึกษาเอกสารตามพระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ร่วมกับแนวคิดทฤษฏีการรักษาทางด้านจิตใจและจิตสังคม (๒) สำรวจปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มเป้าหมาย ก่อน และหลังการทดลอง และทำการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดหนึ่งกลุ่ม  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต ๑๐ ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง มีผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัวเข้าร่วมโปรแกรมอีก ๑๐ คน  ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ถึง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑   เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต ๔ ด้าน ฉบับภาษาไทย ๒๘   ข้อ ของกรมสุขภาพจิต  ของ โกลด์เบิร์ก ( ๑๙๗๒)  ที่แปลเป็นภาษาไทย และปรับปรุงโดย ธนา นิลไชยโกวิทย์,จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และชัชวาล ศิลปะกิจ ( ๒๕๓๙)  และแบบสอบถามการทำหน้าที่ครอบครัว ที่พัฒนาขึ้นโดย อุมาพร ตรังคสมบัติ โดยดัดแปลงมาจากการทำหน้าที่ของครอบครัวของแมคมาสเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที (T-Test) กำหนดระดับนัยสำคัญที่ ๐.๐๕

ผลการศึกษาพบว่า

ก่อนการทดลอง  ผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจิตทั้ง ๔ ด้าน คือ ความรู้สึกทุกข์ใจ ไม่เป็นสุข ร้อยละ ๑๐๐ ความวิตกกังวล ร้อยละ ๙๐ ความบกพร่องเชิงสังคม ร้อยละ ร้อยละ ๗๐  และความคิดว่ามีโรคทางกายโรคใดโรคหนึ่งหรือหลายโรค ร้อยละ ๗๐ จากปัญหาสัมพันธภาพและจากปัญหาความขัดแย้งทางจิตสังคมในวัยเด็ก

หลังการทดลอง พบว่า พบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนของปัญหาสุขภาพจิตลดลงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  และทำหน้าที่ในครอบครัวได้ตามปกติ พบว่าผลความพึงพอใจที่ได้รับมีคะแนนสูง ผู้ป่วยสามารถปรับตัว กลับมาใช้ชีวิตแบบปกติมีความสุข ทำหน้าที่ในครอบครัว ไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย คิดแต่จะอยู่แบบมีค่า และมีประโยชน์ในชีวิตในทุกๆ วัน และนำการเจริญอานาปานสติมาใช้ในประจำวันได้ดี  มีกิจกรรม

สรุป ผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการช่วยเหลือเยียวยาพุทธจิตสังคมบำบัดแบบมีโครงสร้าง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรัง ให้หายได้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งควรได้รับการพัฒนาวิจัย ให้เป็นรูปแบบ ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต ในโรงพยาบาล และในชุมชนต่อไป
 

คำสำคัญ : พุทธจิตสังคมบำบัด ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕