หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุรเชษฐ์ ตอรัมย์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๑ ครั้ง
การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : สุรเชษฐ์ ตอรัมย์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ
ใน
การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  

                   ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ๑) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๓๕๓ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaires) มีค่าดัชนีความสอด คล้องอยู่ระหว่าง ๐.๘๐ - ๑.๐๐ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) การทดสอบค่าที (t-test)  การทดสอบค่าเอฟ (F – test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และ ๒) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัย จำนวน ๗ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเรียบเรียงเป็นรายข้อ

               ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย (x̄ = .๓๔)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ๐.๖๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านฉันทะ (x̄ = .๕๐), ด้านวิริยะ (x̄ = .๓๘), ด้านจิตตะ (x̄ = .๔๘) และด้านวิมังสา (x̄ = .๔๒) ตามลำดับ 

               ๒. การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มี เพศ อายุ ตำแหน่ง ต่างกัน มีการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนบุคลากรที่มีการศึกษาต่างกัน มีการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

(๒)

๓. ปัญหาในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีดังนี้ ๑) การไม่เข้าใจ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัย ๒) การเดินทางมาทำงาน ๓) ขาดการทำงานเป็นทีม ๔) การทำงานยังยึดติดกับตัวบุคคลและเอกสาร บางส่วนงานยังยึดติดระบบราชการ ๕) มีขั้นตอนทำงานมากเกินไป ๖) ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน

๔. ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มีดังนี้ ๑) ต้องสร้างความ
เข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัย ๒) ต้องเพิ่มรถรับส่งในการเดินทางมาทำงาน ๓) ต้องสร้างการทำงานเป็นทีม ๔) ต้องสร้างความเข้าใจการทำงานไม่ยึดติดกับตัวบุคคลและเอกสาร ๕) ต้องลดขั้นตอนทำงาน ๖) ต้องสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานโดยเพิ่มสวัสดิการในด้านต่างๆ ให้บุคลากร ๗) ต้องสร้างบรรทัดฐานหรือกฎเกณฑ์การปฏิบัติงานของให้ชัดเจน ๘) ต้องส่งเสริมบุคลากรให้ กล้าคิด กล้าพูด และกล้าทำในทางสร้างสรรค์ ๙) ต้องปลูกฝังอิธทิบาทธรรมให้บุคลากรมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ และต้องเพิ่มทักษะในการทำงาน เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานและมุ่งการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายและแผนงานของมหาวิทยาลัย  

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕