การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท๔ ของกลุ่มโรงเรียนพระสังข์ อำเภอตาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต ๓ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท๔ ของกลุ่มโรงเรียนพระสังข์ อำเภอตาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต๓ ตามปัจจัยส่วนบุคคลและ๓) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนพระสังข์ อำเภอตาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต๓ โดยศึกษากับกลุ่มประชากรคือผู้บริหารและครูจำนวน ๑๒๔ คน จาก ๒๐ โรงเรียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำพรรณนารวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าเฉลี่ย(μ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัยพบว่าการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิ๔ ของโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มโรงเรียนพระสังข์ อำเภอตาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต๓ มี ๔ด้านได้แก่ ๑)การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท ๔ ๒)การบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท ๔ ๓)การบริหารงบประมาณตามหลักอิทธิบาท ๔ และ๔)การบริหารงานทั่วไปตามหลักอิทธิบาท ๔โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=๔.๒๙, σ=.๓๓๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล (μ= ๓.๓๓,σ= .๔๒๗) ด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการบริหารงบประมาณ (μ=๔.๒๒, σ= .๓๙๒)
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนพระสังข์ อำเภอตาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต๓ ทั้ง ๔ ด้าน พบว่าพบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีเพศ ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนพระสังข์ อำเภอตาคลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต๓ ที่สำคัญได้แก่ บุคลากรทุกฝ่ายทุกคน จะต้องเป็นผู้รักงานในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ และเอาใจใส่กระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน มีการเพิ่มพูนวิชาความรู้ความสามารถในการทำกิจการงาน มุ่งมั่นที่จะทำงานในหน้าที่รับผิดชอบหรือกิจการงานอาชีพของตนให้สำเร็จเรียบร้อยอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากในการประกอบกิจการงานในหน้าที่ หรืองานในส่วนที่ตนรับผิดชอบ จึงจะถึงความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้า ใส่ใจในการทำงานทุกอย่าง ทุกหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยเอาใจใส่ต่อกิจการงานที่ทำและมุ่งกระทำงานรู้จักพิจารณาเหตุ สังเกตผล ในการปฏิบัติงานของตนเอง และของผู้ร่วมงานว่าดำเนินไปตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้ ได้ผลสำเร็จ เมื่อเกิดอุปสรรคหรือปัญหา มีการหาวิธีการบริหารกิจการงานให้สำเร็จ โดยติดตามประเมินผลงานและนำมาวิเคราะห์วิจัยให้ทราบเหตุผล พิจารณาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และปรับปรุงพัฒนาวิธีการทำงานให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จ
Download |