หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภัณฑิลา สังคหะ
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขต เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : ภัณฑิลา สังคหะ ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวิรัตธรรมโชติ
  กันตภณ หนูทองแก้ว
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุที่มี เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ และรายได้ต่างกัน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางส่งเสริมเกี่ยวกับการใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้วิธีการเชิงสำรวจ (Survey  Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) ประชากร คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน ๑๕,๗๕๓ คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ เครซซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .๐๕ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๗๕ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ซึ่งถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Signficant Difference)

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีระดับการใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคม โดยรวมทั้ง ๓ ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย พบว่า การปรับตัวทางสังคมด้านอนัตตามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =๓.๔๖) รองลงมาได้แก่ด้านอนิจจัง ( =๓.๒๗) ส่วนด้านทุกขังมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =๓.๒๑) เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา และรายได้ พบว่า มีระดับการใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคม โดยรวมทั้ง ๓ ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง

๒) ผลการเปรียบเทียบระดับการใช้หลักไตรลักษณ์ในการ ปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศต่างกัน มีระดับการใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคม ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้สูงอายุที่มี อายุ สถานภาพ การศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีระดับระดับการใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .๐๕

๓) ผลการศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักไตรลักษณ์ในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า

                  (๑) ผู้สูงอายุควรปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านข้อมูล เทคโนโลยี วัฒนธรรมและค่านิยมของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยการเรียนรู้และปรับใช้อย่างเหมาะสมกับเพศภาวะและอายุของผู้สูงอายุ

                  (๒) ผู้สูงอายุไม่ควรยึดติดกับวัตถุนิยมและบริโภคนิยม เพราะสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความอยาก อันเป็นตัวการที่ทำให้เกิดทุกข์ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้อยู่กับปัจจุบันตามวัยสูงอายุ

                  (๓) ผู้สูงอายุควรเข้าใจหรือปรับเปลี่ยนชีวิต เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่คิดครอบครอง ปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติ ให้ยอมรับว่าถึงเวลาของผู้สูงอายุพักผ่อน หรือทำหน้าที่อีกบทบาทตามวัยสูงอายุ 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕