หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุทัศน์ กตสาโร (ประทุมแก้ว)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๕ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ความกตัญญูต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระสุทัศน์ กตสาโร (ประทุมแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความกตัญญูในพุทธศาสนาเถรวาท                  ๒) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีต่อสังคมในปัจจุบัน และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ความกตัญญูต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพระพุทธศาสนาเถรวาท วิธีการศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร ตำรา และหนังสือที่รวบรวมคำสอนทางพระพุทธศาสนา และงานเขียนต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้เนื้อหาสอดคล้องตามลำดับของงานวิจัย

      ผลจากการวิจัยพบว่า

      คำว่า กตัญญู คือ ความรู้และการยอมรับในบุญคุณของบุคคลที่กระทำแล้วทั้งแก่ตนเองและแก่ส่วนรวม ตลอดถึงสถาบัน สัตว์ และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อตัวเราทั้งทางตรงและทางอ้อม และพยายามกระทำตอบด้วยการทดแทนพระคุณ ช่วยเหลืออุปการะ ยกย่อง บำรุง รักษาให้คงอยู่ในสภาพที่ดีงาม เพื่อความสงบสุขของสังคม และเพื่อความสมดุลทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

      ความกตัญญูต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หมายถึง ทรัพย์อันเกิดขึ้นเองหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ คำว่า ธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้นๆ หรือสภาพภูมิประเทศ ส่วนคำว่า สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมที่อยู่รอบๆ มนุษย์ทั้งที่ดีและไม่ดี

 

      จะเห็นได้ว่า ความกตัญญูเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ คือ มนุษย์ต้องเห็นคุณค่าของธรรมชาติสิ่งแวดล้อมซึ่งเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มนุษย์จะต้องช่วยกันรักษาดูแล และปลูกทดแทนให้ธรรมชาตินั้นกลับมาสู่สภาพดั่งเดิม  

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕