การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว๒. เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว และ ๓. เพื่อเสนอแนะการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน ๓๑๐ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)สถิติทดสอบค่าที (t-test)และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : F-test)
ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้
๑. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากลำดับมากไปหาน้อย พบว่า (๑) ด้านเมตตา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ๔.๒๒ (๒)ด้านกรุณา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๑ (๓) ด้านมุทิตาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๗ (๔) ด้านอุเบกขาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๖
๒.ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้วจำแนกตามเพศ โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันจำแนกตามระดับชั้นเรียน โดยภาพรวม พบว่า ด้านเมตตาแตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ส่วนด้านกรุณา ด้านมุทิตา และด้านอุเบกขา ไม่แตกต่างกันจำแนกตามเกรดเฉลี่ย โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง ๔ ด้าน นักเรียนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Download |