การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดจันทบุรี ๒. เพื่อศึกษาการเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดจันทบุรี และ ๓. เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างเครือข่ายและผลสัมฤทธิ์ในจังหวัดจันทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน ๒๕ คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน ๑๒ รูป/คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
๑. รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดจันทบุรี มี ๖ รูปแบบ ได้แก่ ๑. รูปแบบเดินศึกษาธรรมชาติ ๒. รูปแบบการจัดการเชิงวิถีชุมชน ๓. รูปแบบการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ๔. รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนทางวัฒนธรรม ๕. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงผลงานสร้างสรรค์จังหวัดจันทบุรี ๖. รูปแบบการท่องเที่ยวอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งแต่ละรูปแบบเป็นการสะท้อนโดยชุมชน ด้วยคนในชุมชน และขับเคลื่อนการท่องเที่ยวด้วยคนในชุมชน
๒. การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดจันทบุรี เป็นเครือข่ายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐภาค เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวชุมชน เครือข่ายภาครัฐจากเข้ามาเชื่อมโยงจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยการให้การสนับสนุนงบประมาณและพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้องรองรับการท่องเที่ยว เครือข่ายสมาชิกในชุมชนจะมีการรักษาวิถีชุมชน ให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวชุมชน สถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
Downlaod |